|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
»
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)"
|
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เป็นสองแนวทางหลักในการปกป้องสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่อาจก่อให้เกิดโรคหรือความเสี่ยงต่างๆ โดยมีความแตกต่างในแนวทางการจัดการและการดำเนินการ ความปลอดภัยทางชีวภาพมุ่งเน้นไปที่การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรคหรือสารพันธุกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การใช้เทคโนโลยีทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการ หรือการจัดการกับวัสดุชีวภาพที่อาจเป็นอันตราย โดยมีการตั้งมาตรฐานและข้อบังคับที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ในทางตรงกันข้าม การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพมุ่งเน้นที่การป้องกันภัยคุกคามจากการใช้งานและการจัดการทรัพย์สินทางชีวภาพที่มีค่าหรืออันตราย ซึ่งรวมถึงการป้องกันการโจรกรรม การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต และการใช้ทรัพย์สินทางชีวภาพในทางที่ผิด โดยการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพจะเน้นที่การจัดการข้อมูล การควบคุมการเข้าถึง และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อให้สามารถจัดการกับภัยคุกคามที่เกิดจากการใช้งานหรือการจัดการที่ไม่เหมาะสม
การดำเนินงานในด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพต้องมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงถูกจัดการอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมาก การทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรต่างๆ รวมถึงการพัฒนามาตรฐานที่เป็นสากลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างระบบการจัดการความเสี่ยงที่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพ
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1041
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ศิรินภา อ้ายเสาร์
วันที่เขียน
2/9/2567 15:55:57
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
4/4/2568 22:24:45
|
|
|
|
|
|
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ
»
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
|
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy” เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร 36) มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี (ในรูปแบบออนไลน์) นั้น
บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
1.1 เข้ารับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “แนวทางการนำทรัพย์สินทางปัญญา ผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2564" โดย ดร.สรรพวรรธ วิทยาศัย ผู้จัดการหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการได้ผลงานทางวิชาการแล้วนำผลงานนั้นไปใช้ประโยชน์ ที่ผ่านมาต้องมีการทำข้อตกลงในแต่ละขั้นตอนที่มีภาคเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อหน่วยงานมหาวิทยาลัย และผู้วิจัยเป็นอย่างมาก สำหรับในปัจจุบันมหาวิทยาลัย จะต้องมีการจัดทำระบบในการเปิดเผยผลงานวิจัย ซึ่งทางมหาวิทยาลัย และผู้วิจัยต้องตัดสินใจว่าจะเป็นเจ้าของผลงานหรือไม่ภายในระยะเวลา 1 ปี และต้องมีการยื่นรายงานการขอนำไปใช้ประโยชน์ภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการใช้สัญญาทุนภาครัฐ ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยต้องมีระบบ หน่วยงาน และแผนในการเตรียมข้อมูลว่าแต่ละงานวิจัยมีความคุ้มค่าการใช้ประโยชน์หรือไม่ เรียกว่า การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และ การจัดสรรประโยชน์ ตัวอย่างของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีระเบียบระบุไว้ว่างานวิจัยใดที่มีการนำไปใช้ในการเรียนการสอน งานวิจัยนั้นเป็นทรัพย์สินของทางมหาวิทยาลัย ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย มี 2 รูปแบบ คือ การจดทะเบียนให้ได้สิทธิ์ และการจดแจ้งสิทธิ์ ดังนี้
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม จดทะเบียนให้ได้สิทธิ์ จดแจ้งสิทธิ์
- เครื่องหมายการค้า √
- ความลับทางการค้า/ความรู้ทางเทคนิค √
- แบบผังภูมิวงจรรวม √
- สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ √
- สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร √
- งานอันเป็นลิขสิทธิ์ √
- พืชพันธุ์ √
การบริหารกระบวนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และการขึ้นทะเบียนในสิทธิ์หรือแจ้งสิทธิ์จะต้องมีความสอดคล้องและมีการวางแผน หากเผยแพร่ผลงานทางวิชาการไปก่อนหน้าแล้ว อาจไม่สามารถขึ้นทะเบียนในสิทธิ์หรือแจ้งสิทธิ์ได้ ข้อควรระวังในการทำแผนการใช้ประโยชน์ภายหลังการเปิดเผยผลงานทางวิชาการ คือ แผนการใช้ประโยชน์ควรมีเทคนิคการเขียนให้สามารถทำได้ หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ผลลัพธ์สูง หากเปอร์เซ็นต์ผลลัพธ์ต่ำ หรือทำได้น้อยกว่าแผน จะทำให้ผลงานที่เป็นทรัพย์สินนั้นไม่สามารถอ้างสิทธิ์ได้
1.2 เข้ารับฟังการปาฐกถาพิเศษโดย ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ในหัวข้อเรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยโมเดลเศษฐกิจ BCG (Bio-circular-Green Economy)” โดยได้บรรยายเกี่ยวกับการนำ BCG มาใช้เพื่อพัฒนาประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านั้นจะมีโปรแกรมเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศ ประกาศโดยสหประชาชาติ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต่อมาได้มีการพัฒนามาเป็นโปรแกรม BCG เพื่อตอบสนองต่อการท้าทายในปัจจุบันจนถึงอนาคต โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ประเด็นท้าทาย สิ่งที่พบหรือปรากฏการณ์
Digital disruption ครั้งที่ 1 internet ครั้งที่ 2 mobile internet ครั้งที่ 3 internet of think ครั้งที่ 4 AI and Robotic
Geopolitical Risk ตะวันออกกลาง จีน vs ไต้หวัน รัสเซีย vs ยูเครน
Healthcare crisis SARs>Ebola>Covid-19
Recession Inflation>Oil price>GDP drop
Climate Change Natural disasters Activist vs Protester Regulatory uncertainly Business risks
ประเด็นท้าทายเหล่านี้มีประโยชน์ในการขับเคลื่อนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่น การเกิด covid-19 นำสู่ความก้าวหน้าทางการแพทย์ และ internet conference โดยรัฐบาลได้มีการตอบสนองต่อประเด็นท้าทายเหล่านี้ในหลายๆ นโยบาย เช่น นโยบายการเงินสีเขียว การสร้างข้อตกลงใน APEC Economy ร่วมกับนานาประเทศ เป็นต้น การทำแผน BCG model ตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. 2565 เรียกว่า แผนปฏิบัติการการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลทางเศรษฐกิจ โดยตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2570 ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ การเพิ่มอัตราการเจริญทางเศรษฐกิจ การลดความเหลือมล้ำ การรักษาธรรมชาติ และการพึ่งพาตนเอง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อน รัฐบาลได้วางกลไกการขับเคลื่อนส่วนหนึ่งผ่านทาง สวทช. ในการเอาความรู้ทางด้านการวิจัยมาสนับสนุน BCG ซึ่งทรัพยากรด้านบุคคลมีมากถึง 2,901 คน ซึ่งอยู่ในระดับปริญญาเอกถึง 67% และมีการวางแผนให้สอดคล้องกับ BCG มีเป้าหมายเพื่อยกระดับให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต
1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
1.1 ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการฯ
1.2 ได้รับความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเรียน การสอน และการทำงานวิจัย
1.3 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผลงานการวิจัยระหว่างบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ
2. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ และฟังการบรรยายในหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยใหม่ๆ ของนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยาย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหลักสูตรและคณะ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งในด้านการเรียนการสอน โดยได้นำความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยายดังกล่าวมาประยุกต์และถ่ายทอดให้แก่นักศึกษาและผู้ร่วมงาน ใช้ในการเรียนการสอนและงานวิจัย นอกจากนั้นยังได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ต่างๆ กับนักวิจัยที่เชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่อหลักสูตรและคณะเป็นอย่างยิ่งโดยจะช่วยทำให้การปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพต่อไป
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
320
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
อัจฉรา แกล้วกล้า
วันที่เขียน
31/3/2567 11:09:58
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
4/4/2568 22:23:28
|
|
|
|
|
|
|
การบริหารบนความหลากหลาย (Diversity and Inclusion Management)
»
การบริหารบนความหลากหลาย
|
การบริหารบนความหลากหลายเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายที่มีอยู่ในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายในเรื่องของ เพศ อายุ อาชีพ วัฒนธรรม ความเชื่อ เชื้อชาติ หรือสภาพร่างกาย เป็นต้น ซึ่งในการดำรงชีวิตของคนเราต้องเจอความแตกต่างนั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา โดยเน้นการทำความเข้าใจถึงความหลากหลายของผู้คนในสังคม ในองค์กร เพื่อให้สามารถปฏิบัติต่อกันและอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สังคมพหุวัฒนธรรม เป็นการผสมผสานทางชาติพันธุ์ ศาสนา และวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยอาศัยอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ หลายครั้งบุคคลที่เป็นส่วนน้อยมักถูกเลือกปฏิบัติทางสังคมและถูกจำกัดสิทธิบางอย่างที่แตกต่างจากคนกลุ่มอื่น ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้มีการปรับตัวเข้ากับสังคมพหุวัฒนธรรมและให้การเคารพสิทธิของแต่บุคคลเพิ่มมากขึ้น ทั้งในรูปแบบของกฎหมายและที่ไม่เป็นกฎหมาย เช่น การยอมรับ/เคารพด้านความแตกต่างทางเพศ ความแตกต่างด้านร่างกาย ความแตกต่างด้านศาสนา การเคารพสิทธิของมนุยชน ทำให้ลดปัญหาสังคมได้หลายด้าน เช่น การคุกคาม/การล่วงละเมิดทางเพศ การก่ออาชญากรรม/ความรุนแรงต่อบุคคลอื่น การกีดกันทางสายอาชีพเนื่องจากความต่างทางเพศหรือสภาพร่างกาย ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ/ปัจจัยพื้นฐานทางสังคม
การจัดการกับความหลากหลายในสังคม ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 เป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขจัดการเลือกปฏิบัติ และมุ่งลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายในรูปแบบของยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนการจัดการกับความหลากหลายของสังคมไทย นอกจากนั้นแล้ว แต่ละองค์กร/หน่วยงานก็ต้องมีการจัดการกับความหลากหลายของบุคคลในองค์กรเพื่อสร้างความสมานฉันท์กลมเกลียวในองค์กร ที่จะทำให้คนในองค์กรนำความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการทำงานให้มากที่สุด องค์กรก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้เช่นเดียวกัน
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
สังคม ครอบครัว ชุมชน เศรษฐกิจ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1555
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
แววตา ติ๊บมา
วันที่เขียน
22/1/2567 15:38:38
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
4/4/2568 22:23:07
|
|
|
|
|
|
|