ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
งานแม่โจ้ 80 ปี
ข่าวสาร กิจกรรม

 

     1. หลักการและเหตผล  


     ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในระยะ ๑๕ ปีระยะที่ ๑ เป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์(Organic University) ระยะที่ ๒ เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว(Green University) ระยะที่ ๓ เป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University) โดยแนวคิดในการพัฒนามุ่งเน้นการใช้เกษตรเป็นศูนย์กลาง ดูแลธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รักษาประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงาม อยู่ด้วยคุณธรรม และธรรมาภิบาล ก้าวทันเทคโนโลยี จากแนวคิดการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัยที่มีบริบททางกายภาพ เช่น ที่ตั้งใกล้ชิด และเชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่น ที่มีฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนทำให้เป็นศักยภาพของการที่จะพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศในอนาคตได้

     ภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการพัฒนาทุกหลักสูตรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัย โดยพัฒนาภายใต้แนวคิดความเขียวเพื่อความยั่งยืน และเป็นระบบ การวางแผน ออกแบบ และหรือการพัฒนาทางกายภาพทุกระดับ รวมถึงมิติทางด้านการบริหารจัดการให้เป็นมิตรกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา/ภูมิสังคมของพื้นที่เป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมของการเรียน การสอนของมหาวิทยาลัยให้ได้บรรยากาศห้องเรียนธรรมชาติ เพื่อนำไปสู่มหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University) ในโอกาสการฉลองครบรอบ ๓๐ ปี ของสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์(30th Anniversary Maejo Landscape Technology) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ได้จัดให้มีการประชุมวิชาการภายใต้แนวคิด “ก้าวสู่สีเขียวยั่งยืน (Go Green for Sustainability)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสัมมนาทางวิชาการ และรวบรวมผลงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา บริหารจัดการทางกายภาพ ชีวภาพ สังคม วัฒนธรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเผยแพร่ชื่อเสียงของคณะ ศิษย์เก่าที่มีผลงานเด่นในแขนงวิชาชีพ รวมถึงการเตรียมความพร้อมวิชาชีพสู่ประชาคมอาเซียน อีกทั้ง อาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ภาครัฐ และเอกชนได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการสู่สาธารณะ ซึ่งจะก่อให้เกิดการกระตุ้นในการผลิตผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ที่สนองตอบสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่ออนาคตของอนุชนรุ่นหลังอย่างยั่งยืน

 

     2. รูปแบบของการประชุมวิชาการ  


การประชุมแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ

2.1 การบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
- ศาสตราจารย์กิติคุณ เดชา บุญค้ำ
- รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณศิลป์ พีรพันธุ์

2.2  การนำเสนอผลงานวิจัย / บทความวิชาการ ภาคบรรยาย (Oral Presentation) (เรื่องละ ๑๕ นาที ซักถาม ๕ นาที) และภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation) (เรื่องละ ๑ บอร์ด) โดยแบ่งเป็น ๕ กลุ่ม ดังนี้

- ภูมิทัศน์ ภูมิสถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อมสร้างสรรค์
- สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อม
- ออกแบบวางแผน เมือง ชุมชน
- พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
- พืชพรรณในงานภูมิทัศน์
- อื่นๆ ตามแนวคิด ก้าวสู่สีเขียวยั่งยืน (Go Green for Sustainability)

2.3 การแสดงนิทรรศการ ประกอบด้วย

- นิทรรศการผลงานศิษย์เก่าที่มีผลงานเด่นในกลุ่มสาขาต่างๆ
- นิทรรศการและการแนะนำหลักสูตร ผลงานนักศึกษา
- นิทรรศการจากภาครัฐและภาคเอกชน เช่น มูลนิธิไทยรักษ์ป่า สำนักงานขายวัสดุอุปกรณ์ทางภูมิทัศน์ และสำนักงานออกแบบต่างๆเป็นต้น
- นิทรรศการทางวิชาการของนักวิจัย นักวิชาการ

 

     3. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาผลงาน  


3.1 ผลงานวิจัย(บรรยาย และโปสเตอร์)
ในการตรวจผลงานทางวิชาการ (peer review) ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ๒ คน ภายใน ๑ คน

3.2 นิทรรศการ
การพิจารณาผลงานเด่น พิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งภายในและภายนอกที่แต่งตั้งขึ้นโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

 

     4 .หน่วยงานร่วมประชุมวิชาการ  


4.1 เทศบาลเมืองแม่โจ้

4.2  สวนพฤกษศาสตร์พระนางเจ้าสิริกิติ์

4.3  สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

4.4  สภาคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย

4.5  สมาคมสถาปนิกล้านนา

4.6 สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย

 

     5. ระยะเวลาการประชุม  


ระหว่างวันที่ ๕-๖ ธันวาคม ๒๕๕๖ จำนวน ๒ วัน เสนอผลงานวิจัยทั้งภาคบรรยายโปสเตอร์ และนิทรรศการผลงานเด่น ทั้งศิษย์เก่า นักศึกษา และองค์กรต่างๆ

 

     6. กำหนดการโครงการ  


 

ลำดับที่

กิจกรรม

ระยะเวลา

๑๕ มี.ค. –   ๓๐ เม.ย. ๕๖

ประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน Web   site

๑ เม.ย. ๕๖

เปิดรับบทคัดย่อ (แบบบรรยายและโปสเตอร์)

๑ มิ.ย. ๕๖ (ขยายเวลาถึง ๑ ก.ค. ๕๖)

ปิดรับบทคัดย่อ (แบบบรรยายและโปสเตอร์)

๑๕ ก.ค. ๕๖

ประกาศผลการพิจารณาบทคัดย่อ   (แบบบรรยายและโปสเตอร์)

๑๕ มิ.ย. –   ๓๐ ส.ค. ๕๖

รับสมัครลงทะเบียนและชำระเงินค่าลงทะเบียน   สำหรับผู้นำเสนอผลงานวิจัยและบทความทางวิชาการ (แบบบรรยายและโปสเตอร์)

๑๕ มิ.ย. –   ๓๑ ต.ค. ๕๖

รับสมัครลงทะเบียนและชำระเงินค่าลงทะเบียน   สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ

ขยายเวลาถึง ๓๐ ส.ค. ๕๖

ปิดรับบทความฉบับสมบูรณ์   (แบบบรรยายและโปสเตอร์)

๑ ส.ค. –   ๑๕ ต.ค. ๕๖

พิจารณาบทความฉบับสมบูรณ์   (แบบบรรยายและโปสเตอร์)

๑๕ ต.ค. ๕๖

ประกาศผลการพิจารณาบทความฉบับสมบูรณ์และให้ผู้เขียนแก้ไข

๑๐

๓๐ ต.ค. ๕๖

ปิดรับบทความฉบับสมบูรณ์ที่แก้ไขแล้ว

๑๑

๓๐ ต.ค. ๕๖

ปิดรับโปสเตอร์ฉบับสมบูรณ์

๑๒

– ๓๐   พ.ย. ๕๖

จัดทำเอกสารประกอบ

๑๓

– ๖   ธ.ค. ๕๖

จัดงานประชุมวิชาการ

อาจมีการเปลี่ยนแปลง สามารถคลิกดูการ update ข้อมุลได้ที่ Link http://lec.arch.mju.ac.th/?page_id=102

ปฏิทินโครงการสามารถดูได้ที่ Link  http://lec.arch.mju.ac.th/?page_id=348

 

     6. ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน  


ท่านสามารถคลิกเข้าไปลงทะเบียนออนไลน์ ได้ตาม Link https://docs.google.com/forms/d/1m9-n0Il-reMPl-zqtZtM0ZjI6C4iyFcrNFzGJl0sXI4/viewform

 

     7. อัตราค่าลงทะเบียน  


การลงทะเบียนสำหรับข้าราชการ นักวิจัย นักศึกษา ของรัฐ ภาคเอกชน ศิษย์เก่า และผู้สนใจทั่วไป ตามรายละเอียดดังตาราง

ลำดับที่

รายการ

ค่าใช้จ่าย (บาท/คน)

ผู้นำเสนอผลงาน

๑,๕๐๐

๒.๑ ผู้เข้าร่วมประชุม ลงทะเบียนภายในวันที่   ๘ พ.ย. ๕๖

- บุคคลทั่วไป

๑,๒๐๐

- นักศึกษา

๘๐๐

๒.๒ ผู้เข้าร่วมประชุม ลงทะเบียนหลังวันที่   ๘ พ.ย. ๕๖

- บุคคลทั่วไป

๑,๕๐๐

- นักศึกษา

๑,๐๐๐

ผู้เข้าร่วมประชุม เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม จัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ.๒๕๔๙, ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ.๒๕๕๒, ตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค ๐๔๐๖.๔/ ว๒๑ ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ เรื่อง การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและการฝึกอบรมภายในประเทศ, ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ หรือเบิกค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากต้นสังกัด ตามระเบียบของทางราชการ

 

     8. การชำระค่าลงทะเบียน  


ผู้สนใจนำเสนอบทความ /ผู้สนใจเข้าร่วมประชุม สามารถชำระค่าลงทะเบียน ได้ตามช่องทางต่อไปนี้

  • บัญชีออมทรัพย์ ชื่อ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (งานประชุมวิชาการ) หมายเลขบัญชี 375-0-553122

 กรุณาส่งสำเนาใบนำฝากเงินของธนาคาร โดยระบุชื่อผู้เข้าร่วมประชุม และรายละเอียดในการออกใบเสร็จรับเงิน อย่างชัดเจน มาที่ โทรสาร 0-5387-3367  หรือ E-mail :LEC.Maejo@Gmail.com

  • ธนาณัติสั่งจ่าย ปท.แม่โจ้ ในนาม

    นายสุรพล  บุญยืน  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย  จ.เชียงใหม่ 50290

 

     9.ติดต่อสอบถาม  


ท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียด เกี่ยวกับโครงการ เพิ่มเติมได้ที่ Link   http://lec.arch.mju.ac.th/?page_id=134  

หากมีปัญหาสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

1. ว่าที่ร้อยตรีหญิงนัยนา โปธาวงศ์ (นักวิชาการศึกษา)

2. ผศ.ดารณี ด่านวันดี (อาจารย์)
Email adaranee@gmail.com

3. สำนักงานคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม Email LEC.Maejo@Gmail.com , ArchMaejo@Gmail.com Tel 053 873 360ต่อ 0 และFax 053 873 367

 

 

 

 

 

 

งานแม่โจ้ 80 ปี ข่าวสาร กิจกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้