Blog : การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย
รหัสอ้างอิง : 1642
ชื่อสมาชิก : ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร
เพศ : หญิง
อีเมล์ : panarin@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย
การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1.การจัดแยกประเภท 2.การจัดเก็บของเสีย 3.การบันทึกปริมาณของเสีย 4.การรายงานปริมาณของเสีย 5.การเก็บรวบรวมของเสียก่อนนำไปกำจัด กลุ่มของเสียอันตรายประเภทของแข็ง 5 ชนิด ได้แก่ 1. ขวดสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว (ขวดเปล่า) 2. เครื่องแก้วแตก ชำรุด หรือขวดสารเคมีแตก 3. สารเคมีหมดอายุ เสื่อมสภาพ เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ 4. ขยะปนเปื้อนเชื้อโรค (และเชื้อตัดแต่งพันธุกรรม) 5. ขยะปนเปื้อนสารเคมี กลุ่มของเสียอันตรายพิเศษ 6 ชนิด ได้แก่ 1.วัสดุกัมมันตรังสี 2.เชื้อโรค (และเชื้อตัดแต่งพันธุกรรม) 3.ของเสียจากโรงงานต้นแบบ 4.ปนเปื้อน EtBr 5.ยาเสื่อมสภาพ 6.ยาอันตรายสูง แผนผังการจัดแยกของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย แผนผังการจัดแยกของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย ได้แก่ ของเสียอันตรายชนิดของแข็ง 5 ประเภท ของเสียอันตรายพิเศษ 6 ประเภท ดำเนินการจัดแยกจัดเก็บของเสียโดยใช้แผนผัง และเกณฑ์ข้อกำหนดในการจัดแยกประเภทของเสียสารเคมีและของเสียอันตรายที่ชัดเจน ตามขอบข่ายของประเภทของเสียสารเคมีและของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการที่ได้จัดแยกไว้ ส่วนของเสียอันตรายชนิดของเหลว 18 ประเภท มีความซับซ้อนเนื่องจากของเสียอาจเป็นสารเชิงซ้อนและของผสม ซึ่งต้องมีการจัดการที่เป็นขั้นตอน จัดแยกตามแผนผังการจัดแยกของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย โดยเรียงตามลำดับขั้นของอันตราย ต้องยึดหลักตามแผนผังการจัดแยกของเสียสารเคมีและของเสียอันตรายอย่างเคร่งครัด หลักปฏิบัติในการจัดแยกและจัดเก็บของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย โดยใช้แผนผังและเกณฑ์ข้อกำหนดการจัดแยกประเภทของเสีย ได้แก่ บันทึกชนิด,ปริมาณ,ความเข้มข้นสารเคมี พิจารณากลุ่มสารเคมีตามแผนผังการจัดแยกประเภท ขั้นตอนที่ 1 การพิจารณากลุ่มสารไวไฟและระเบิดได้ ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก รหัส L12, L13, L18, L19 และ L20 เรียงลำดับขั้นของอันตราย (มากไปหาน้อย) ขั้นตอนที่ 2 การพิจารณากลุ่มโลหะหนักและสารพิษ รหัส L04, L05, L07, L08, L10 และ L11 เรียงลำดับขั้นของอันตราย (มากไปหาน้อย) คำนวณความเข้มข้นของสารเคมีที่ใช้และความเข้มข้นของสารประกอบที่เป็นของเสียจากการวิเคราะห์ทดสอบ (แบบฟอร์ม HW01) เปรียบเทียบความเข้มข้นของโลหะหนักและสารพิษ ตามมาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรม ขั้นตอนที่ 3 การพิจารณากลุ่มสารประกอบเชิงซ้อนอนินทรีย์/อินทรีย์ รหัส L14, L15, L16 และ L17 เรียงลำดับขั้นของอันตราย (มากไปหาน้อย) ขั้นตอนที่ 4 การพิจารณากลุ่มสารที่เป็นกรด ด่าง และเกลือ รหัส L01, L02 และ L03 เรียงลำดับขั้นของอันตราย (มากไปหาน้อย) การจัดเก็บของเสียอันตรายต้องคำนึงถึง 1.ภาชนะบรรจุของเสีย 2.ฉลากของเสีย 3.สถานที่จัดเก็บของเสีย ภาชนะและอุปกรณ์ในการจัดเก็บของเสีย (ถังเก็บของเสียชนิดของเหลว) ทำจากวัสดุ Polyethylene (PE) ทนต่อการกัดกร่อน มีช่องบรรจุขนาดใหญ่ มีฝาปิด มีที่หิ้ว ขนาดบรรจุ 30 ลิตร (สามารถบรรจุของเสียอันตรายที่เป็นของเหลวไม่เกิน 21 ลิตร 70%ของปริมาตรถัง) ภาชนะและอุปกรณ์ในการจัดเก็บของเสีย (ถังเก็บของเสียชนิดของแข็ง) ทำจากวัสดุ Polyethylene (PE) ทนต่อการกัดกร่อน มีช่องบรรจุขนาดใหญ่ มีฝาเปิด และฝาปิดที่สามารถล็อคปิดถังได้ มีที่หิ้ว ขนาดบรรจุ 100 ลิตร (สามารถบรรจุของเสียอันตรายที่เป็นของแข็งไม่เกิน 70%ของปริมาตรถัง) และควรมีถุงพลาสติกรองด้านในถัง ภาชนะและอุปกรณ์ในการจัดเก็บของเสียถาดรอง (ถังเก็บของเสีย) ทำจากวัสดุ Polypropylene (PP) สามารถรองรับถังเก็บของเสียขนาด 30 ลิตร สามารถรองรับการรั่วไหลของของเสียได้ไม่น้อยกว่า 60% ฉลากของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย การติดฉลาก เพื่อให้ทราบว่าสิ่งที่บรรจุอยู่นั้นเป็นของเสียประเภทใด และมีส่วนประกอบอะไร จำนวนเท่าไหร่ ส่วนประกอบของฉลาก วันที่เริ่มบรรจุ วันที่สิ้นสุดการบรรจุ ชื่อหน่วยงานที่ผลิตของเสีย ประเภทของเสีย ส่วนประกอบและปริมาณของเสีย การทำฉลากควรทำ 2 ใบ เพื่อติดด้านบนภาชนะบรรจุของเสีย และติดด้านข้างภาชนะบรรจุของเสีย สถานที่จัดเก็บของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย สถานที่จัดเก็บแยกเป็น 3 ส่วน คือ สถานที่จัดเก็บของเสียภายในห้องปฏิบัติการ สถานที่จัดเก็บของเสียภายในอาคารและสถานที่จัดเก็บรวบรวมของเสียส่วนกลาง และต้องมีป้ายบ่งบอกสถานที่เก็บของเสียอย่างชัดเจน 1.ลักษณะสถานที่จัดเก็บของเสียภายในห้องปฏิบัติการ แยกออกจากส่วนปฏิบัติการ ไม่โดนแดดไม่ร้อน อากาศถ่ายเทได้สะดวก แยกของเสียที่อยู่รวมกับของเสียชนิดอื่นไม่ได้ (Incompatibility) ไม่วางของเสียใกล้แหล่งจุดติดไฟ เก็บของเสียไม่เกิน 200 ลิตรหากเป็นสารไวไฟต้องไม่เกิน 38 ลิตร ควรกำหนดระยะเวลาการเก็บในห้องปฏิบัติการ ควรย้ายไปเก็บที่สถานที่เก็บประจำอาคารทุกเดือน 2.ลักษณะสถานที่จัดเก็บของเสียประจำอาคาร อยู่ชั้นล่างสุดของอาคาร ไม่โดนแดดไม่ร้อน อากาศถ่ายเทได้สะดวก แยกของเสียที่อยู่รวมกับของเสียชนิดอื่นไม่ได้ (Incompatibility) ไม่วางของเสียใกล้แหล่งจุดติดไฟ เก็บของเสียไม่เกิน 3 เดือนให้ย้ายไปสถนที่เก็บส่วนกลาง 3.ลักษณะสถานที่จัดเก็บของเสียส่วนกลางของหน่วยงาน โรงเรือนหรือพื้นที่บริเวณกว้าง ไม่โดนแดดไม่ร้อน อากาศถ่ายเทได้สะดวก แยกของเสียที่อยู่รวมกับของเสียชนิดอื่นไม่ได้ (Incompatibility) ไม่วางของเสียใกล้แหล่งจุดติดไฟ ห้องจัดเก็บมีประตูปิดมิดชิด ส่งกำจัดของเสียที่โรงบำบัดของเสีย บริษัทที่ได้รับใบอนุญาต ขั้นตอนการจัดเก็บของเสียในห้องปฏิบัติการ 1.สวมใส่ PPE (ถุงมือ แว่นตา เสื้อกาวน์) 2.บรรจุของเสียลงในภาชนะตวงเพื่อวัดปริมาณ 3.บันทึกปริมาณของเสียลงในแบบฟอร์มHZW02, 03, 04 4.บรรจุของเสียลงในภาชนะใส่ของเสียไม่เกิน 80% 5.ย้ายถังเก็บของเสียไปเก็บไว้ ณ จุดวางของเสียในห้องปฏิบัติการ
การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย » การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย
การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1.การจัดแยกประเภท 2.การจัดเก็บของเสีย 3.การบันทึกปริมาณของเสีย 4.การรายงานปริมาณของเสีย 5.การเก็บรวบรวมของเสียก่อนนำไปกำจัด
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 753  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 25/12/2567 15:27:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 15:27:11

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้