ของเสียเป็นได้มากกว่าการนำไปทิ้ง
วันที่เขียน 28/8/2561 9:13:22     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2568 3:08:47
เปิดอ่าน: 3269 ครั้ง

พลังทางทางเลือกที่ยั่งยืนสามารถนำมาแทนพลังงานฟอสซิลได้ โดยพลังงานทางเลือกมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับพลังงานฟอสซิล เช่น พลังงานความร้อนที่ให้ เป็นต้น

 
รู้หรือไม่แหล่งพลังงานสำรองในประเทศไทยสามารถใช้ได้แค่อีกประมาณ 35 ปีข้างหน้า แล้วเราควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อไม่มีพลังงานใช้ อย่าลืมกันนะคะว่าประเทศไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรมอีกทั้งยังบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักดังนั้ในทุกๆ วันมักจะเกิดของเสียอินทรีย์ขึ้นโดยที่เราทุกคนไม่รู้ตัว นั่นก็คือ เศษอาหาร รวมทั้งวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว เปลือกข้าวหรือแกลบ เศษกิ่งหรือเศษใบไม้จากการตัดแต่งกิ่งลำไย เปลือทุเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองสามารถนำมาสร้างให้เป็นสื่งที่ให้พลังงานเพื่อใช้ทดแทนพลังงานที่กำลังจะหมดไป แล้ววิธีเปลี่ยนของเสียอินทรีย์เหล่านี้ให้เป็นเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานทำอย่างไร เรามีคำตอบให้ค่ะ 1. เศษอาหารสามารถนำมาผลิตแก๊สเชื้อเพลิงที่ใช้แทนแก๊สหุงต้มได้ หรือเรียกว่า แก๊สชีวภาพ โดยกระบวนการทำนั้นไม่ยากเลยคะ เพียงแค่สร้าบ่อซีเมนต์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร พร้อมมีฝาปิดแล้วต่อท่อเพื่อให้แก๊สที่ผลิตได้สามารถลอยออกมา มีช่งสำหรับเทเศษอาหารทางด้านบนของบ่อ ภายในบ่อควรใส่พืชหรือผลไม้ที่เป็นแหล่งของจุลินทรีย์ เช่น หยวกกล้วย สัปปะรด หรือจะใช้ตะกอนจากแหล่งน้ำนิ่ง เป็นต้น จากนั้นหลังมื้ออาหารทุกมื้อจะมีเศษอาหารให้นำเศษอาหารทิ้งลงบ่อ ในช่วงเริ่มต้นรอประมาณ 20-30 วันจึงจะเกิดแก๊สเชื้อเพลิงที่สามารถนำไปใช้ประกอบอาหารได้ 2. เศษวัสดุเหลืองทิ้งทางการเกษตรต่างๆ สามารถนำมาเผาเพื่อผลิตเป็นถ่านอัดแท่งไว้ใช้ในการประกอบอาหารได้ แต่ในอุตสาหกรรมสามารถนำไปใช้แทนถ่านหินในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือใช้ในกระบวนการเผาเซรามิกและแก้ว โดยกระบวนการทำนั้นก็ไม่ยากเช่นเดียวกัน ก่อนอื่นต้องมีเตาสำหรับเผาเศาวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้ซึ่งสามารคสร้างได้ง่านโดยช้ดินเหนียว การสร้างเตาเผาถ่านนั้นควรให้อยู่ในรูปทรงไข่มีปล่องล่างและปล่องบน ปล่องล่างจะมีขนาดใหญ่กว่าปล่องบน และมีช่องสำหรับใส่เชื้อเพลิงในการเผา ในกระบสนการเผาเพื่อผลิตถ่านนั้นให้สังเกตุควันที่ปล่องบน คือ ในระหว่างการเผาเพื่อผลิตถ่านปล่องควันด้สนบจะมีควันให้สังเกตุจนควันหมดแล้วทำการปิดปล่องทันทีเพื่อให้เกิดกระบวนการเผาแบบอับอากาศซึ่งจะได้ถ่าน หากไม่ปิดปล่องบนเศษวัสดุเหลือทิ้งจะเกิดการเผาไหม้จนกลายเป็นขี้เถ้าแทน การเปลี่ยนวัสดุเหลือทิ้งต่างๆ เป็นเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณของเสียในชุมชนแล้วยังช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน จนกระทั่งอาจจะเกิดการจัดตั้งกลุ่มรัฐวิสาหกิจชุนชนขึ้นอีกด้วย เห็นไหมละคะว่าเพียงเท่านี้เราก็สามารถมีพลังงานใช้เรื่อยๆ แล้วค่ะ ลองทำกันดูนะคะ ครั้งต่อไปจะนำเทคโนโลยีพลังงานทางด้านเตาชีวมวลมาให้ทุกคนได้รู้จักนะค่ะ

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
GIS issue » สรุปผลการเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาโปรแกรมด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ทางอินเทอร์เน็ต” 17-21 มีนาคม 2568
สรุปผลการเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาโปรแกรมด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ทางอินเทอร์เน็ต” 17-21 มีนาคม 2568 เป็นหลักสูตรฝึกอบรมโดยสำน้กพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาโปรแก...
Geodatabase  leaflet  Mapserver  PostGIS  PostgreSQL  Web Map Service     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 7/4/2568 22:34:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2568 12:50:26   เปิดอ่าน 67  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การเพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการเรียนรู้ด้วย Microsoft Copilot ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ "Enhance Teaching and Learning with Microsoft Copilot"
การอบรมเชิงปฏิบัติการ "Enhance Teaching and Learning with Microsoft Copilot" ที่จัดโดย Microsoft Learn เป็นโอกาสสำคัญสำหรับนักการศึกษาในการเรียนรู้และนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการสอนและการเรีย...
AI ปัญญาประดิษฐ์  การเรียนการสอนดิจิทัล  การเรียนรู้ Microsoft  เทคโนโลยี Copilot  ประสิทธิภาพ     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน จักรกฤช เตโช  วันที่เขียน 4/4/2568 10:52:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2568 20:05:27   เปิดอ่าน 455  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)” » เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)
เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50) และนำเสนอผลงานวิจัย เมื่อวันที่ 25 - 27 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่
STT50  การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ  งานวิจัย     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน ธวัลรัตน์ รัตนเดชานาคินทร์  วันที่เขียน 10/1/2568 14:11:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2568 12:48:06   เปิดอ่าน 248  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง