Raspberry Pi
วันที่เขียน 28/8/2558 14:24:51     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/4/2568 7:13:55
เปิดอ่าน: 4174 ครั้ง

Raspberry Pi เป็นบอร์ดคอมพิวเตอร์32 บิต มีขนาดเล็กใช้พลังงานต่ำ ใช้ระบบปฏิบัติการ Linux และมีพอร์ทเชื่อมต่อแบบ GPIO สำหรับรับ-ส่งข้อมูลกับ Sensor ต่างๆ เหมาะสำหรับใช้เป็น Server ขนาดเล็ก

Raspberry Pi เป็นบอร์ดคอมพิวเตอร์32 บิต ขนาดเล็กขนาดเท่ากับเครดิตการ์ด รองรับระบบปฏิบัติการ Linux ,Android และ Windows10 IOT

Raspberry Pi  ถูกวางตลาดครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์2012 โดยกำเนิดจากนักออกแบบคอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ ชื่อคุณ Eben Upton แนวความคิดที่จะออกแบบและสร้าง RPi ก็คือ สมัยที่เขาทำงานกับห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของ Cambridge University ก็เกิดความหงุดหงิดไม่ได้อย่างใจเพราะนักศึกษามีความสามารถในการเขียนโปรแกรมลดลงเมื่อเทียบกับนักศึกษารุ่นก่อนๆ แถมผู้คนทั่วไปก็คิดว่าคอมพิวเตอร์ก็คือเครื่องมือท่องเว็บ พิมพ์เวิร์ด หรือ คำนวณตาราง Excel เท่านั้น ไม่ได้รู้ว่าคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้อีกเยอะ หรือลืมไปเลยว่าคอมพิวเตอร์ในสมัยก่อนๆ นั้น ต้องมานั่งประกอบกันเอาเองทีละชิ้น

ทุกๆที่ในโลกสมัยก่อนหากจะซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องแรกนั้น ต้องไปที่พันธุ์ทิพย์แล้วกำหนด Spec ของคอมพิวเตอร์ว่าจะต้องมีอะไรบ้าง ขนาดเท่าไหร่ ราคาเป็นไง แล้วซื้อทีละชิ้นมาประกอบ และลงโปรแกรมกันเอาเองพอคิดได้แบบนี้ก็คุณ Upton ก็เลยตั้งใจว่าจะต้องสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และราคาถูกสุด (ตอนแรกตั้งใจให้อยู่ที่ 25$) แถมต้องทำงานได้หลายอย่างแบบที่คอมพิวเตอร์สมัยนี้ทำได้อีก เขาคาดหวังว่าจะทำได้คนกลับมาเข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์มากขึ้น เข้าถึงได้มากขึ้นเพราะราคาที่ถูก และหัดเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น คิดและเริ่มลงมือทำอยู่ 6 ปีRPi Model A จึงได้เปิดตัวและให้จองกันในเดือนกุมภาพันธ์ปี2012 และแล้วภายใน 3 เดือนก็มีคนสั่งจองกันครึ่งล้านเครื่อง รอกันเป็นเดือนๆ กว่าจะได้ของ ผ่านไปปีเดียวขายได้เกิน 1 ล้านเครื่องทั่วโลก ความนิยมล้นหลาม

เดือนตุลาคม 2012 ก็เลยออก RPi Model B มาขายโดยปรับปรุงให้มีRAM มากขึ้นเป็น 512 MB และเพิ่ม พอร์ต LAN เข้าไปด้วยเนื่องจากต้องการทำให้ราคาถูก นอกจากฮาร์ดแวร์ที่ใช้อย่างคุ้มค่าแล้วซอฟต์แวร์ก็ต้องใช้แบบที่เป็น Opensource นั้นก็คือ Linux ครับ ดังนั้นระบบปฏิบัติการต่างๆ ของ RPi จึงมีพื้นฐานมาจาก Linux แล้วพัฒนาต่อให้มีGraphic User Interface ที่คล้ายๆ Windows ครอบลงไปอีกทีRaspberry Pi (RPi ) ทำอะไรได้บ้าง

1.ทำได้เหมือน PC รุ่นซัก 8-10 ปีที่แล้ว ใช้ Arm cortex เป็นหน่วยประมวลผลหลัก

2.มีGPIO ทำให้สามารถเล่นกับ Sensor หรือ ส่งค่าออกไปติดต่อสั่งงานภายนอกได้แบบ MicroController แต่ไม่มี Analog input

3.มีProtocol SPI UART I2C สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น RFID Tag reader หรือ Sensor ต่างๆ

4.ทำงานเป็น Server ได้

5.มีUSB port ทำให้ต่อ External devices เช่น Keyboard, wireless dongle, External Harddrive,ลำโพง จอ LCD, พอร์ต AV และรองรับการเชื่อมต่อด้วย HDMI

6.ไม่มีInternal Harddrive ขนาดใหญ่ ทำให้ต้องใช้SD Card เพื่อบรรจุ OS แทน

เนื่องจากมีขนาดเล็กและใช้พลังงานต่ำ ตลอดจนรองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เนท ทำให้ Raspberry Pi เหมาะสำหรับการประยุกต์ใช้ เป็น Server ขนาดเล็กสำหรับระบบ IOT ภายในบ้านหรือสำนักงาน

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://e-manage.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=396
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
GIS issue » สรุปผลการเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาโปรแกรมด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ทางอินเทอร์เน็ต” 17-21 มีนาคม 2568
สรุปผลการเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาโปรแกรมด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ทางอินเทอร์เน็ต” 17-21 มีนาคม 2568 เป็นหลักสูตรฝึกอบรมโดยสำน้กพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาโปรแก...
Geodatabase  leaflet  Mapserver  PostGIS  PostgreSQL  Web Map Service     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 7/4/2568 22:34:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/4/2568 21:05:37   เปิดอ่าน 10  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การเพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการเรียนรู้ด้วย Microsoft Copilot ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ "Enhance Teaching and Learning with Microsoft Copilot"
การอบรมเชิงปฏิบัติการ "Enhance Teaching and Learning with Microsoft Copilot" ที่จัดโดย Microsoft Learn เป็นโอกาสสำคัญสำหรับนักการศึกษาในการเรียนรู้และนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการสอนและการเรีย...
AI ปัญญาประดิษฐ์  การเรียนการสอนดิจิทัล  การเรียนรู้ Microsoft  เทคโนโลยี Copilot  ประสิทธิภาพ     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน จักรกฤช เตโช  วันที่เขียน 4/4/2568 10:52:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/4/2568 17:35:54   เปิดอ่าน 403  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)” » เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)
เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50) และนำเสนอผลงานวิจัย เมื่อวันที่ 25 - 27 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่
STT50  การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ  งานวิจัย     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน ธวัลรัตน์ รัตนเดชานาคินทร์  วันที่เขียน 10/1/2568 14:11:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/4/2568 17:37:45   เปิดอ่าน 228  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง