ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 1385
ชื่อสมาชิก : ปาณิศา วงค์ใส
เพศ : หญิง
อีเมล์ : panisa@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 14/8/2556 9:56:13
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 14/8/2556 9:56:13
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  52  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
สนุกเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
การศึกษาและเรียนรู้ของคนเรามีหลายรูปแบบ ...การศึกษาและเรียนรู้ตามอัธยาศัยเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

 

สนุกเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ตามอัธยาศัย

                                                                 โดย : ปาณิศา  คงสมจิตต์

                                                                              นักเอกสารสนเทศ : ห้องสมุดคณะผลิตกรรมการเกษตร

 

ผู้เขียนเคยเห็นผู้เล่นอินเทอร์เน็ตหลายๆ คนที่เข้าไปค้นหาเรื่องราวที่เขาอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์  หลายคนบอกว่าได้รับความรู้หลายหลากเรื่องราว  ทำให้ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรับรู้มาก่อนก็มีมาก  มีบางคนแม้กระทั่งผู้เขียนเองก็ยอมรับว่าได้เข้าไปค้นหาเรื่องราวที่อยากรู้และเข้าไปศึกษาอยู่บ่อยๆ เช่นเข้าไปดูคลิปของเรื่องการทำดอกไม้กระดาษเพื่อนำมาตกแต่งการจัดบอร์ดของห้องสมุด , งานฝีมือการตัดเย็บ , การประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้ ฯลฯ

ความจริงแล้ว  การที่คนเราเข้าไปค้นหาเรื่องราวที่ตนต้องการรู้เพื่อให้เกิดความกระจ่างก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่ง  ซึ่งเรียกว่าเป็นการเรียนรู้หรือการศึกษาตามอัธยาศัย

การศึกษาตามอัธยาศัย ( informal education ) หมายถึง กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิตประจำวันของบุคคลซึ่งบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  ตามความสนใจ  ตามความต้องการ  โอกาส ความพร้อม  และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล

การศึกษาตามอัธยาศัย  มุ่งให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ( informal learning )

การเรียนรู้ตามอัธยาศัย  จะมีอยู่ 3 ลักษณะคือ

1.การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ( Self-directed learning ) เป็นโครงการเรียนรู้ที่กำหนดโดยผู้เรียน  ซึ่งไม่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากนักการศึกษาแต่สามารถเป็นการนำเสนอของวิทยากร   การเรียนรู้แบบนี้เป็นเรื่องของความตั้งใจเพราะผู้เรียนมีจุดหมายในบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการเรียนรู้  สิ่งนั้นอาจมาก่อนที่กระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้น  เป็นเรื่องของจิตสำนึกโดยปัจเจกบุคคลตระหนักว่าเขาต้องการเรียนรู้ในบางสิ่งบางอย่าง

2.การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ( Incidental  learning ) หมายถึง ประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมิได้มีความตั้งใจมาก่อนว่าจะต้องเรียนสิ่งนั้นแต่เมื่อได้รับประสบการณ์  เขาก็รับรู้ได้ว่าเขาได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่างขึ้นมา  ดังนั้นจึงเป็นความไม่ตั้งใจแต่รู้สึกตัว ( unintended  conscious )

3.การเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน  ( Tacit  learning ) หมายถึงการเรียนรู้ในคุณค่า  ทัศนคติ  พฤติกรรม  หรือทักษะต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้  การศึกษาตามอัธยาศัยยังเป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์  จากการทำงาน  จากบุคคล  จากครอบครัว  จากชุมชน  จากแหล่งความรู้ต่างๆ  เพื่อเพิ่มพูนความรู้  ทักษะ  ความบันเทิงและการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยมีลักษณะที่สำคัญคือ  ไม่มีหลักสูตร  ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน  ไม่จำกัดอายุ  ไม่มีการลงทะเบียน  ไม่มีการสอน  และไม่มีการรับประกาศนียบัตร  มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน  เรียนที่ไหนก็ได้  ลักษณะของการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการรวมทั้งไม่จำกัดเวลาเรียน  สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต

เพราะฉะนั้น  จะเห็นว่าในทุกครั้งที่ท่านผู้อ่านหลายๆ ท่าน ได้เข้าไปค้นหาหรือเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไรต่อมิอะไรทางอินเทอร์เน็ต  ก็ขอให้รู้เถอะว่าคุณยังเป็นผู้ที่มีพลัง - มีไฟแห่งการเรียนรู้อยู่เพราะนั่นก็ถือว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการศึกษาหาความรู้  แต่เป็นการศึกษาหาความรู้ตามอัธยาศัยซึ่งก็สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งอายุขัยในชีวิตของเราทีเดียว....

 

                *แหล่งอ้างอิงข้อมูล             :           education.dusit.ac.th

                                                     :           mediathailand.blogspot.com

คำสำคัญ : การเรียนรู้ การศึกษา ตามอัธยาศัย
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 7251  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 22/2/2557 16:00:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 12:52:21
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290