การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learner ที่มีคุณลักษณ์ Soft Skill
วันที่เขียน 2/4/2562 18:07:03     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/4/2568 14:37:38
เปิดอ่าน: 5481 ครั้ง

ในปัจจุบันการเรียนการสอนได้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เอง โดยผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจากเป็นผู้ให้ความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงเป็นผู้จัดเตรียมและสนับสนุนกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ซึ่งการสื่อสาร การช่วยเหลือ ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน จะช่วยให้การเรียนรู้นั้นบรรลุวัตถุประสงค์ และยังทำให้เกิดทักษะด้านต่างๆ ตามมา เช่น ทักษะการค้นคว้า ทักษะการสื่อสาร ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะด้านภาษา ทักษะการทำงานเป็นทีม ร่วมทั้งการรับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นต้น ซึ่งเรียกทักษะเหล่านี้ว่า Soft skill ซึ่งผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดว่าต้องการพัฒนา Soft skill ของผู้เรียนด้านใด ทำให้การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นหลักสามารถพัฒนา Soft skill ของผู้เรียนควบคู่ไปด้วยเช่นกัน

ในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนได้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เอง โดยผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจากเป็นผู้ให้ความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงเป็นผู้จัดเตรียมและสนับสนุนกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ซึ่งการสื่อสาร การช่วยเหลือ ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน จะช่วยให้การเรียนรู้นั้นบรรลุวัตถุประสงค์ และยังทำให้เกิดทักษะด้านต่างๆ ตามมา เช่น ทักษะการค้นคว้า ทักษะการสื่อสาร ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  ทักษะด้านภาษา ทักษะการทำงานเป็นทีม ร่วมทั้งการรับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นต้น ซึ่งเรียกทักษะเหล่านี้ว่า Soft skill ซึ่งทักษะทางด้าน Soft skill จะสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนระดับปริญญาโท-เอก โดยเน้นงานวิจัยเป็นหลักจะสามารถเห็นเป็นรูปธรรมมากกว่านำไปใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียน  ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learner ผู้สอนต้องมีความกระตือรือร้นก่อน เช่น อยากสอน เปิดใจในสิ่งใหม่ๆ  มีแรงจูงใจในการสอน เรียนรู้ธรรมชาติของผู้เรียนในปัจจุบัน เตรียมพร้อมและวางแผนการสอนมาก่อน และต้องมีคุณสมบัติพิเศษคือ เป็นนักเล่าเรื่อง กล่าวคือ สามารถสอนแบบไม่เรียงตามเนื้อหาได้ แต่สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาได้  รูปแบบ เครื่องมือ และวิธีการสอน ที่จะทำให้เกิดการเรียนแบบ Active learner มีหลายแบบขึ้นอยู่กับผู้สอนจะออกแบบ รวมทั้งธรรมชาติของผู้เรียนด้วยว่าถนัดหรือต้องการอะไร โดยเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสม เครื่องมือมีหลายชนิด เช่น  Facebook/fan page, YouTube channel, Blog, Google application, E-book เป็นต้น  ส่วนวิธีการสอนก็มีความหลากหลาย เช่น บรรยาย/อภิปราย,  กรณีศึกษา,  การสาธิต, ทัศนศึกษาดูงาน,  การเรียนแบบทำงานร่วมมือกัน, การแสดงละคร หรือบทบาทสมมุติ,  Flipped Learning, PBL: Problem Based Learning หรือ PjBL: Project Based Learning เป็นต้น  เมื่อมีการพัฒนาด้านองค์ความรู้ตามผู้เรียนเป็นหลักแล้ว ต้องมีการพัฒนาด้าน Soft skill ของผู้เรียนด้วย ซึ่งผู้สอนเป็นผู้กำหนด Soft skill ประมาณ 4-5 ทักษะ ที่ต้องการพัฒนาและต้องเหมาะสมกับงานที่ทำ หรืองานวิจัยที่ได้รับ โดยพื้นฐาน Soft skill ที่ต้องการมีดังนี้  1. ความมั่นใจ (Confidence) 2. ความเป็นผู้นำ (Leadership)  3. การบริหารเวลา (Time management)    4. ทักษะการจัดการตัวเอง (Self- management skill)    5. ความเป็นมิตรและมารยาท (Friendliness and manners)   6. การมีเป้าหมาย (Focus)    7. การมีความสำนึกพื้นฐาน (Common sense)  8. การรู้สถานการณ์ (Situational awareness)   9. ความกระตือรือร้นและการมองโลกในแง่ดี (Enthusiasm and optimism)  10. การเอาใจใส่ (Empathy)  11.การสื่อสาร (Communication) 12. การทำงานเป็นทีม (Teamwork)   13. การตัดสินใจ (Decision-making)   14. การคิดแบบสร้างสรรและเชิงวิพากษ์ (Critical/Creativity thinking)    เมื่อผู้สอนเลือก Soft skill ที่เหมาะสมได้แล้วต้องสื่อสารให้กลุ่มเป้าหมาย หรือ ผู้เรียน รับทราบ สร้างความเข้าใจและการยอมรับ  จากนั้นลงมือพัฒนา Soft skill ตามที่วางไว้และกำหนดข้อตกลงร่วมกับผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนต้องเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ผู้สอนสามารถพัฒนา Soft skill ผู้เรียนได้โดยสอดแทรกในกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดว่าต้องการพัฒนา Soft skill ของผู้เรียนด้านใด ทำให้การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นหลักสามารถพัฒนา Soft skill ของผู้เรียนควบคู่ไปด้วยเช่นกัน

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://e-manage.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=940
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ (CSTI-ครั้งที่ 6)
ประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ โดยในปีนี้ ภายใต้หัวข้อ "วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อเกษตรสุขภาวะที่ยั่งยืน" ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีบรรยายพิเศษ จ...
Conference  CSTI  Statistics  ประชุมวิชาการ  ระดับชาติ  วิจัย  วิชาการ  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/4/2568 14:31:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/4/2568 12:59:22   เปิดอ่าน 35  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง