ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 201
ชื่อสมาชิก : มงคล ถิรบุญยานนท์
เพศ : ชาย
อีเมล์ : mongkols@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 7/2/2554 10:19:03
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 7/2/2554 10:19:03
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  1  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
บทบาทของยีสต์ผลิตลิพิดกับการมีศักยภาพในการผลิตไบโอดีเซล
โดยปกติแล้วยีสต์จะมีบทบาทในอุตสาหกรรมหลาย ๆ ชนิด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะทราบกันดีว่ายีสต์นั้นมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการผลิตไวน์ หรืออุตสาหกรรมอาหารอื่น ๆ อีกหลายชนิด อย่างไรก็ตามนักวิจัยในปัจจุบันได้มีการศึกษาและค้นคว้าวิจัยว่ายีสต์จากแหล่งที่แตกต่างกันนั้น พอจะมีศักยภาพที่มีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกหรือไม่ เช่น ศักยภาพในการเป็นแหล่งผลิตลิพิดสำหรับการผลิตไบโอดีเซล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและในอนาคตของประเทศไทยของเรา ทั้งนี้การที่นำจะยีสต์ไปเป็นแหล่งชีวภาพเพื่อผลิตลิพิดสำหรับการนำไปผลิตไบโอดีเซลนั้น จะต้องมีการคัดเลือกและศึกษาคุณสมบัติของยีสต์เหล่านั้นก่อน ว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ จากนั้นจึงจะสามารถนำยีสต์ไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลในขั้นตอนสุดท้ายต่อไป จากการเข้าร่วมงานประชุมทางวิชาการประจำปี ๒๕๖๑ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยในงานประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในครั้งนี้ ได้มีกลุ่มนักวิจัย ชื่อ รูฮาญา เจาะซู ซูไฮลาฮ์ มามะ ปรีชา กสิกรรมไพบูลย์ และอุไรวรรณ ขุนจันทร์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี โดยได้นำเสนอผลงานวิจัยในเรื่อง การแยกและคัดเลือกยีสต์สะสมไขมันที่สามารถผลิตเอนไซม์ไลเปสและเซลลูเลสจากดินที่ปนเปื้อนของเสียของผลปาล์ม โดยจากผลการศึกษาวิจัยที่นักวิจัยได้นำเสนอพบว่ามียีสต์ ๘ ไอโซเลทที่สามารถผลิตเอนไซม์ไลเปสและเซลลูเลสได้ และได้ทำการศึกษาต่อเนื่องโดยพบว่า ยีสต์ไอโซเลท AL20 สามารถผลิตลิพิดได้ปริมาณสูงสุดเท่ากับ ๒๔.๖๗ เปอร์เซ็นต์ (โดยน้ำหนักเซลล์แห้ง) จากการนำยีสต์ดังกล่าวไปจำแนกสายพันธุ์โดยใช้เทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 26S rRNA พบว่ายีสต์ไอโซเลท AL20 คือ Candida tropicalis ซึ่งกลุ่มนักวิจัยดังกล่าวนี้ได้เสนอแนะว่ายีสต์ที่คัดเลือกได้จากดินที่ปนเปื้อนของเสียของผลปาล์มนี้น่าจะมีศักยภาพสำหรับใช้เป็นแหล่งผลิตลิพิดสำหรับการผลิตไบโอดีเซลต่อไปในอนาคตได้


คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1946  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 15/3/2562 13:18:55  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 1:08:36
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290