ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 1642
ชื่อสมาชิก : ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร
เพศ : หญิง
อีเมล์ : panarin@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  0  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
เผยแพร่ความรู้การร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ MJU Annual Conference 2018
จากการได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ รวมทั้งได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ ในรูปแบบภาคโปสเตอร์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวข้อ การเตรียมเอนไซม์อาหารสัตว์จากก้อนเพาะเห็ดเก่าเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ของอาหารสัตว์เศรษฐกิจในท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2561 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้

         จากการได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ รวมทั้งได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ ในรูปแบบภาคโปสเตอร์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  หัวข้อ การเตรียมเอนไซม์อาหารสัตว์จากก้อนเพาะเห็ดเก่าเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ของอาหารสัตว์เศรษฐกิจในท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2561  ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้  สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้ 

  • ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร  

ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร” โดยวิทยากร พันเอก รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital transformation)ความรู้ที่ได้รับในส่วนนี้ สามารถนำมาตั้งโจทย์วิจัยให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้ โดยสร้างองค์ความรู้ที่สามารถต่อยอดสร้างนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตพืชต่าง ๆจำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตทางการเกษตรและอาหารมีแนวโน้มเติบโตไม่ทันต่อความต้องการของประชากร การนำเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัยมาใช้ทางด้านการเกษตร ที่เรียกว่า การเกษตรอัจฉริยะ หรือ การเกษตรแม่นยำ จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยสามารถช่วยสร้างผลผลิตที่มีประสิทธิภาพในภาคการเกษตร โดยใช้พื้นที่ทางการเกษตรและทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะมีความก้าวหน้าไปอย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และยุโรป เช่น การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจจับการไหลผ่านของเมล็ดพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ในประเทศเกาหลีใต้ได้ไปเรียนรู้และนำเทคโนโลยีมาพัฒนาปรับแต่งให้เข้ากับสภาพแวดล้อม โดยมีตัวเซนเซอร์ให้สามารถตรวจจับเมล็ดข้าวขนาดเล็ก และมีซอฟต์แวร์ควบคุมจังหวะการปล่อยเมล็ดข้าวลงไปเพาะในนาให้ถูกต้อง

  • การพัฒนากรงไก่ไข่สำหรับนับจำนวนไข่และควบคุมการให้อาหาร

การนำเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายมาประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงปศุสัตว์ และพัฒนาองค์ความรู้ ระบบประกอบด้วยกรงเลี้ยงไก่ไข่จำลอง และ Node MCU esp8266 ใช้สำหรับประมวลผลและส่งข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ เซนเซอร์ Reflective photoelectric เพื่อตรวจนับจำนวนไข่ไก่ มีการแสดงผลผ่านเว็บแอปพลิเคชัน ส่วนการให้อาหารไก่ควบคุมการเปิด-ปิด มอเตอร์เซอร์โวผ่านเว็บแอปพลิเคชัน โดยการนำเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายมาประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงปศุสัตว์ และพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับเกษตรกรในชุมชน

  • สมาร์ทฟาร์มเห็ด

เป็นระบบการผลิตเห็ดที่นาเทคโนโลยีระบบควบคุมและแจ้งเตือนอัจฉริยะ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ ส่งไปยังสมาร์ทโฟนเพื่อให๎ทราบถึงสถานะปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายใน

โรงผลิตเห็ดโดยเฉพาะความชื้นในปัจจุบันได้อย่างรวดเร็วสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันทีในทุกพื้นที่ที่มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพรโดยประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ด

        จากความรู้ที่ได้รับข้างต้นทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานและชีวิตประจำวัน และการที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการวางแผนการจัดสื่อ วัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยต่อไปในอนาคตได้

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2916  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 15/1/2562 16:02:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 17:32:11
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290