ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 1663
ชื่อสมาชิก : ภรต รัตนปิณฑะ
เพศ : ชาย
อีเมล์ : parot@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 18/8/2557 15:18:34
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 18/8/2557 15:18:34
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  0  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
รายงานสรุปเนื้อหาการนำเสนอ MJU Annual Conference 2018
ประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561 และเสนอผลงานวิชาการ ในวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
  1. ได้นำเสนอผลงานโปรสเตอร์เรื่อง เรื่อง  เทคโนโลยีเซ็นเซอร์สำหรับการตรวจสอบการทำงานของพัดลมในระบบระบายความร้อนด้วยเครื่องระเหย  (Sensor Technologies for Monitoring Cooling Fan Operation in Evaporative Cooling System)  เนื้อหาสำคัญคือ ฟาร์มปศุสัตว์ในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะฟาร์มไก่ เป็นรูปแบบโรงเรือนปิดด้วยระบบระบายความร้อนด้วยเครื่องระเหย เพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในและการถ่ายเทอากาศให้เหมาะสม ซึ่งระบบพัดลมเป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลักในการทำงานของระบบ โดยหนึ่งในปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรผู้เลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก คือ ระบบระบายความร้อนด้วยเครื่องระเหยเกิดความขัดข้อง โดยเฉพาะในส่วนของพัดลม ที่อาจเกิดการหยุดทำงาน เนื่องจากไฟฟ้าดับหรือพัดลมขัดข้อง งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการนำเทคโนโลยีเซ็นเซอร์มาใช้สำหรับการตรวจสอบการทำงานของพัดลมในระบบระบายความร้อนด้วยเครื่องระเหย โดยใช้เซ็นเซอร์การตรวจจับหมุนของพัดลมโดยตรง และได้ทำการทดลองใช้งานจากเซ็นเซอร์สามรูปแบบคือ อินฟราเรด, จับการเคลื่อนไหว, และรูปแบบเสียงด้วยคลื่นอัลตราโซนิค มาใช้ในการตรวจสอบการทำงานของพัดลม ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า เซ็นเซอร์รูปแบบเสียงด้วยคลื่นอัลตราโซนิค มีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยมีความแม่นยำถึง 99 เปอร์เซ็นต์ โดยรองลงมาคือเซ็นเซอร์อินฟราเรด ซึ่งมีความแม่นยำ 97 เปอร์เซ็นต์ และเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวนั้น มีความแม่นยำเพียง 48 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
  2. ได้ร่วมนำเสนอผลงานโปรสเตอร์ การศึกษาความต้องการของชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาระบบต้นแบบที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสังคมออนไลน์มาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในพื้นที่ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (A Study on Community Needs for the Prototype Development using Information Technology and Social Media for Promoting Agritourism, Pong Yeang district, Mae Rim district, Chiang Mai.)   เนื้อหาสำคัญคือ ผู้ประกอบการและชุมชนด้านการท่องเที่ยวต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังและสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำกับนักท่องเที่ยว โดยบูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสังคมออนไลน์ งานวิจัยนี้ได้สำรวจและศึกษาถึงความต้องการของผู้ประกอบการและชุมชนโป่งแยง  ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลด้านความต้องการและปัญหาด้านการท่องเที่ยว พบว่าในชุมชนโป่งแยงมีความต้องการอย่างเร่งด่วน ด้านระบบเว็บไซต์ที่เป็นศูนย์รวมให้กับชุมชน (Web Service Center) ที่สามารถให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย จัดการและส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนอย่างเท่าเทียมกัน มีการออกแบบระบบต้นแบบด้วยหลักการของยูเอ็มเอล (UML) และหลักทฤษฏีกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เอจาลย์ มีกลุ่มผู้ใช้งาน 3 ประเภท คือ กลุ่มนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และผู้ดูแลระบบ มีการออกแบบระบบต้นแบบที่คำนึงถึงการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับผู้ใช้ (UX/UI) และมีความสามารถในการแสดงผล (Responsive Design) ใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ (Any Devices) ได้ผลลัพธ์เป็นระบบต้นแบบในรูปของ Website Wireframe มีการทำงานหลักทั้งหมด 42 ยูสเคส คือกลุ่มนักท่องเที่ยว 16 ยูสเคส กลุ่มผู้ประกอบการ 11 ยูสเคสหลัก และผู้ดูแลระบบ 15 ยูสเคสหลัก หลังจากได้ต้นแบบ (prototype) ได้ทำการทดสอบด้วยระบบมือกับกลุ่มเป้าหมาย (Manual Acceptance Test) พบว่ามีผลการยอดรับผลการทดสอบ Mockup Wireframe ต้นแบบดังกล่าวร้อยละ 90

ได้เข้าร่วมประชุมรับฟังการนำเสนอผลงานทางวิชาการเรื่อง “ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร (Digital Transformation)” บรรยายโดย รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ  ยุคแห่งการ Transformation จากโลกอุตสาหกรรม ไปสู่ยุคดิจิตอลกำลังเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายภาคส่วนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยในปัจจุบันเป็นยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Industry 4.0) ทำให้อุตสาหกรรมด้านการนำไอทีมาเชื่อมต่อจึงมาแทนที่อุตสาหกรรรมเดิม รวมถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่มีการแบ่งบันความรู้อย่างรวดเร็วผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ อีกทั้ง มนุษย์ในปัจจุบันมีความต้องการในชีวิตที่แตกต่างกันไป ทำให้ทุกๆ ภาคส่วนต้องมีการปรับตัว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเปลี่ยนแปลงด้านการลด carbon footprint โดยการใช้เนื้อสัตว์ที่สังเคราะห์จากห้องปฎิบัติการมาแทนที่การทำปศุสัตว์ที่เป็นรูปแบบเดิม

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2367  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 11/1/2562 10:18:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 0:16:35
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290