ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 58
ชื่อสมาชิก : ชนันท์ภัสร์ ราษฎร์นิยม
เพศ : ชาย
อีเมล์ : Chanun@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 12/1/2554 0:00:00
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 12/1/2554 15:21:44
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  14  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
จริงหรือที่สังคมไทยเต็มไปด้วยการกีดกัน การดูถูก และการเลือกปฏิบัติต่อกัน
ผมเคยถกเถียงกับฝรั่งในประเด็นที่ว่า สังคมไทยเต็มไปด้วยการกีดกัน การดูถูก และการเลือกปฏิบัติต่อกัน ... วันนั้นทำให้ผมได้มีมุมมองใหม่กับสังคมที่ผมคิดว่าผมรู้จักดีแล้ว

ผมเคยถกเถียงกับฝรั่งในประเด็นที่ว่า สังคมไทยเต็มไปด้วยการกีดกัน การดูถูก และการเลือกปฏิบัติต่อกัน ในตอนแรกผมมีความคิดเข้าข้างตัวเองว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่อบอุ่นน่ารัก ปฏิบัติต่อกันเหมือนญาติ เราเรียกคนที่เราไม่รู้จักว่า ลุง ป้า น้า อา พี่ น้อง ไม่ว่าจะเป็นคนเชื้อสายอะไร เราก็อยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่ฝรั่งเขาก็เถียงว่าไม่จริง แล้วเขาก็ยกตัวอย่างว่าภรรยาคนไทยของเขา เวลาที่เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดที่เมืองไทย คนไทยด้วยกันปฏิบัติต่อภรรยาของเขาไม่ดีเลย ผมจึงเริ่มคิดออกว่าเขาหมายถึงอะไร ผมเชื่อว่าคุณผู้อ่านคงเข้าใจว่าผมหมายถึงอะไร เรื่องนี้ทำให้ผมถึงกับสะอึก ผมหันมามองตัวเอง ในอีกมุมมองหนึ่ง เป็นมุมมองที่แตกต่างไปจาก 2 วินาทีที่แล้ว และถามตัวเองว่า เราในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยได้ทำอะไรลงไป

คำสำคัญ : การกีดกัน การดูถูก การเลือกปฏิบัติ
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : สังคม ครอบครัว ชุมชน เศรษฐกิจ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 12091  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 2  ครั้ง
วันที่เขียน 12/3/2554 11:56:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 19:59:37
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ชื่อผู้เขียน : ชนันท์ ราษฎร์นิยม
วันที่เขียน : 31/3/2554 0:00:00

เมื่อได้อ่านความเห็นของท่าน "ชายผู้ไร้รัก" แล้ว สะดุดอยู่คำหนึ่งครับ คือ คำว่า "การให้" หรือที่ฝรั่งเรียกว่า "sharing" ซึ่งเราอาจจะแปลความคำนี้ได้หลายมุมมอง เช่น อาจหมายถึงการแลกเปลี่ยน การแบ่งปัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ฯลฯ แต่ผมเห็นฝรั่งเขาสอนกันให้รู้จักการบริจาค (donate) ทำบุญทำทานให้เพื่อนร่วมโลกหรือคนที่กำลังลำบาก การแบ่งช่องทางบนท้องถนนให้คนขี่มอเตอร์ไซค์ คนเดินเท้า และคนข้ามถนน (share the road) สอนให้เด็กๆ มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น (share your thought) ซึ่งคิดให้ดีแล้วก็เสมือนเป็นการบริจาค (contribute) ความเห็นส่วนตัว (อันมีค่ายิ่ง) ออกมาให้คนอื่นรู้หรือคิดต่อ-คิดตามบ้าง ไม่ใช่นั่งเงียบอมพะนำ คอยแต่จะฟังคนอื่นพูดแต่ฝ่ายเดียว (คอยรับอย่างเดียว ไม่ยอมให้ นี่ก็อาจมองได้ว่าเอาเปรียบเพื่อนร่วมห้องได้เหมือนกัน ประมาณว่าฉันกลัวผิด กลัวเสียหน้า ไม่ขอร่วมชะตากรรม (not sharing the fate) นั่งเงียบๆ เสียดีกว่า ปล่อยให้เพื่อนที่ใจกล้า-หน้าด้านพูดไป ให้เขาพูดผิดๆ ถูกๆ ไป ฉันจะรอฮุบเอาคำตอบที่ถูกต้องที่สุดตอนสุดท้ายไว้) หรือถ้ามองในภาพใหญ่ก็จะหมายถึง การบริจาคตัวเองหรือพาตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบทางสังคม หากในมุมมองของการเป็นนักวิชาการ-นักวิจัย อาจารย์ผมที่ออสเตรเลียก็สอนเสมอว่างานวิจัยที่จะมีคุณค่าในระดับปริญญาเอกนั้น ผลงานต้องให้อะไร (ที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่า) สักอย่างกับแวดวงการศึกษา (contribute something to the academia) ... ผมคิดว่าท่าน "ชายผู้ไร้รัก" พูดถูก (ที่จริง...พิมพ์) เรื่อง "การให้" ส่วนจะหวังผลตอบแทนหรือไม่นั้น หากจะให้วิพากย์วิจารณ์ต่อคงเป็นเรื่องยาวครับ เพราะ มันมีทั้งแบบ "หวัง (ผลตอบแทน)" และ "หวังผล (ตอบแทน)" มองได้หลายมุมครับ

ชื่อผู้เขียน : ชายผู้ไร้รัก
วันที่เขียน : 25/3/2554 0:00:00

ผมมองว่าปัญหาหลักของสังคมไทยไม่ใช่เรื่องของการกีดกัน ดูถูก หรือการเลือกปฏิบัติ แต่เป็นเรื่องของ "ความรัก" คนไทย (บางส่วน) ไม่รู้จักการรักกันอย่างจริงใจ ทำให้สังคมเต็มไปด้วยการแข่งขันแบบไม่สร้างสรรค์ เช่นแข่งกันรวย แข่งกันสวย แข่งกันดัง ฯลฯ อันนำมาซึ่งความอิจฉาริษยา แม้แต่ญาติกันที่ปากบอกว่ารักกัน แต่ลึกๆในใจคอยแข่งขันกันตลอด    คนไทยขาดการปลูกฝังพื้นฐานความคิดเรื่อง "ความรัก" อย่างจริงจัง  ความเชื่อของคนไทยที่ผมว่าไม่ค่อยเข้าท่าคือการทำอะไรก็ตามต้องหวังสิ่งตอบแทน แม้แต่การทำทานก็หวังเพื่อให้ได้บุญ ได้โชค ได้ลาภ ในขณะที่ฝรั่งถูกสอนให้รักเพื่อนบ้านตั้งแต่เด็ก (ไม่ใช่ทุกคน) จึงเชื่อว่าการให้ก็คือให้ ให้ด้วยความจริงใจ ให้เพราะอยากให้ผู้รับมีความสุข ให้เพราะความรัก สังคมฝรั่งเลยไม่มีการแข่งขันกันมากนัก (จริงๆอาจเป็นเพราะเขาค่อนข้างมีอันจะกินแล้วจึงคิดได้เช่นนี้)   ผมว่าสุดท้ายแล้วถ้าเราปลูกฝังความคิดเรื่องการรักกันอย่างจริงใจให้คนไทย รู้สึกยินดีเมื่อเห็นคนที่เรารักมีความสุข รู้สึกกังวลเมื่อเห็นคนที่เรารักมีปัญหา สังคมเราก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการแข่งขัน การดูถูก กีดกัน การเลือกปฏิบัติแน่นอนครับ

ป.ล. แต่สุดท้ายแล้วยังไงผมก็ยังคิดว่าสังคมไทยเราเป็นสังคมที่น่ารักที่สุดอยู่ดีครับ


ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290