ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 1656
ชื่อสมาชิก : วริศรา สุวรรณ
เพศ : หญิง
อีเมล์ : warissara@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 16/8/2557 9:50:55
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 16/8/2557 9:50:55
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  0  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
แนวทางการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
ตามนโยบายและแนวทางในการกำกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้กำหนดมาตรฐานการวิจัยไว้หลายด้าน โดยเฉพาะมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ มาตรการส่งเสริมให้เกิดการยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการของ วช. จะใช้กลไกการจัดสรรทุนวิจัย คือ การกำหนดให้มีการลงทะเบียนห้องปฏิบัติการ และให้แนบเอกสารความปลอดภัยทุกครั้ง เพื่อประกอบการพิจารณาการขอทุนวิจัย ดังนั้นห้องปฏิบัติการจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เองและเพื่อขอทุนวิจัยในอนาคต โดย วช. ได้แนะนำเครื่องมือในการบริหารจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ฐานข้อมูลความรู้และเผยแพร่กิจกรรมด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ฐานความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ระบบจัดการข้อมูลสารเคมี และการบริการจัดการเกี่ยวกับมาตรการจัดสรรทุนวิจัยที่เกี่ยวกับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ

ตามนโยบายและแนวทางในการกำกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้กำหนดมาตรฐานการวิจัยไว้หลายด้าน ได้แก่ มาตรฐานการวิจัยในมนุษย์ มาตรฐานการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ มาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ประเมินโครงการวิจัย ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ จริยธรรมนักวิจัย และมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ

มาตรการส่งเสริมให้เกิดการยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการของ วช. จะใช้กลไกการจัดสรรทุนวิจัย คือ การกำหนดให้มีการลงทะเบียนห้องปฏิบัติการ และให้แนบเอกสารความปลอดภัยทุกครั้ง เพื่อประกอบการพิจารณาการขอทุนวิจัย ดังนั้นห้องปฏิบัติการจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เองและเพื่อขอทุนวิจัยในอนาคต โดย วช. ได้แนะนำเครื่องมือในการบริหารจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ มีดังนี้

1. ENoP ฐานข้อมูลความรู้และเผยแพร่กิจกรรมด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ

(http://labsafety.nrct.go.th/)

 

2. ESPReL ฐานความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล ประชาสัมพันธ์การจัดการประชุม อบรม และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (http://esprel.labsafety.nrct.go.th/home.asp)

วิธีการใช้งาน ESPReL ฐานความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ

ข้อควรปฏิบัติ

1)      อ่านคำอธิบายการกรอก checklist เพื่อให้ทราบขอบเขต วัตถุประสงค์ และความหมายของแต่ละข้อกำหนดที่จะใช้ในการสำรวจสถานภาพให้ชัดเจน

2)      สมาชิกให้ห้องปฏิบัติการทุกระดับควรประชุมทำความเข้าใจ และลงความเห็นร่วมกันในการตอบคำถามแต่ละข้อ แล้วจึงลงบันทึกข้อมูลในเวปไซต์

การใช้งาน ESPReL

1)      ลงทะเบียน ESPReL checklist ได้ที่ http://esprel.labsafety.nrct.go.th/home.asp ซึ่งเป็นฐานความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล ประชาสัมพันธ์การจัดการประชุม อบรม และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

2)      กรอกข้อมูลที่เป็นความจริง ทีละข้อใน checklist

3)      ดูการประเมินผลในรายงาน โดยจะแสดงออกมาเป็นคะแนน และกราฟเส้นหรือกราฟแท่ง

4)      การประเมินผลในแต่ละครั้งจะถูกบันทึกข้อมูลไว้ และนำมาเปรียบเทียบกับการ checklist ครั้งล่าสุด ซึ่งจะทำให้ห้องปฏิบัติทราบถึงการพัฒนาที่เกิดขึ้น

การใช้ ESPReL checklist จึงเป็นการยกระดับห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ให้มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยตามเกณฑ์กำหนดของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเริ่มประเมินสถานภาพห้องปฏิบัติการ โดยใช้เครื่องมือ ESPReL , วิเคราะห์ผล Gap analysis และวางแผนกิจกรรมยกระดับความปลอดภัย ตามความสำคัญ งบประมาณ และระยะเวลา

ประโยชน์จากการทำ ESPReL Checklist

1)      ทำให้ผู้ใช้ตระหนักถึงความปลอดภัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ

2)      ได้สำรวจสถานภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้วยตนเอง

3)      ทราบถึงสภานภาพองค์ประกอบความปลอดภัย ทราบจุดแข็ง จุดอ่อนในแต่ละองค์ประกอบ

4)      ได้แนวทางการพัฒนากิจกรรมเพื่อยกระดับความปลอดภัยที่เหมาะสม

 

3. ChemInvent ระบบจัดการข้อมูลสารเคมี (http://cheminvent.labsafety.nrct.go.th/)

          เป็นโปรแกรมที่สามารถจัดการข้อมูลของสารเคมี ทั้งชนิด ปริมาณนำเข้า ปริมาณคงเหลือ สถานที่เก็บ ค่าใช้จ่าย และข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี รองรับการใช้งานได้หลากหลาย โดยผู้ใช้งานสามารถ เพิ่ม/ลด/ปรับปรุง ข้อมูลสารเคมีได้เอง

1)    เข้าสู่โปรแกรม ChemInvent ได้ที่ http://cheminvent.labsafety.nrct.go.th/

2)    เข้าสู่เมนูหลัก กรอกรายละเอียดข้อมูลสารเคมีให้ครบถ้วน

3)    สามารถพิมพ์ 1D Barcode หรือ 2D Barcode ติดข้างดวด เพื่อใช้ตรวจสอบคุณสมบัติของสารเคมีขวดดังกล่าวได้

 

ประโยชน์ของโปรแกรม ChemInvent

1)    สามารถจัดการข้อมูลของสารเคมี ทั้งชนิด ปริมาณที่นำเข้า ปริมาณคงเหลือ สถานที่เก็บ ค่าใช้จ่าย ตลอดจนข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี

2)    มีระบบการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลซึ่งสามารถใช้งานได้บนระบบออนไลน์

3)    สามารถตรวจสอบและติดตามความเคลื่อนไหวของข้อมูลสารเคมีต่างๆได้ตลอดเวลา

4)    สามารถออกรายงานสรุปการใช้งานโปรแกรมและข้อมูลสารเคมีได้

 

4. NRMS การบริการจัดการเกี่ยวกับมาตรการจัดสรรทุนวิจัยที่เกี่ยวกับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (http://www.nrms.go.th/)   

 

คำสำคัญ : มาตรฐานห้องปฏิบัติการ ความปลอดภัย
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4054  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 5/9/2561 12:22:06  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 22:41:52
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290