ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 616
ชื่อสมาชิก : รุ่งทิพย์ กาวารี
เพศ : หญิง
อีเมล์ : rungthip-k@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 2/11/2554 14:21:47
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 2/11/2554 14:21:47
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  1  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
#ทำไมผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการต้องอบรมหลักสูตร "เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน"
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย หมายถึง สภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุและความเจ็บป่วยหรือโรคจากการทำงาน (การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานอันมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นอันตราย ลักษณะท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน ต้องได้รับการอบรมหัวข้อต่างๆ แยกเป็น 4 หมวดวิชา ดังนี้ หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและการนำไปปฏิบัติ หมวดวิชาที่ 3 การค้นหาอันตรายจากการทำงาน หมวดวิชาที่ 4 การป้องกันและควบคุมอันตราย

 

 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน

โดย นางสาวรุ่งทิพย์  กาวารี

นักวิทยาศาสตร์ สังกัด สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์

 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน มีหัวข้อต่างๆ แยกเป็น 4 หมวดวิชา ดังนี้

หมวดวิชาที่ 1     ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน              

     อาชีวอนามัยและความปลอดภัย หมายถึง สภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุและความเจ็บป่วยหรือโรคจากการทำงาน (การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานอันมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นอันตราย ลักษณะท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม)              

     บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน (ตามกฎหมาย) ได้แก่

  1. กำกับดูแลให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ ปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน
  2. วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น โดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคชั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
  3. สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
  4. ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
  5. กำกับ ดูแล การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  6. รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคชั้นสูง ระดับวิชาชีพ หรือหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
  7. ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคชั้นสูง ระดับวิชาชีพ และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
  8. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
  9. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย

 

หมวดวิชาที่ 2     กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและการนำไปปฏิบัติ              

     กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน ถือเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดให้นายจ้างต้องดำเนินการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานประกอบกิจการของตน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อลูกจ้าง การตรวจสอบความปลอดภัยตามข้อกำหนดของกฎหมายนั้น ผู้ตรวจสอบต้องมีความเข้าใจในกฎหมายข้อนั้นๆ และต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมาย ในบางประเด็นต้องนำหลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมมาพิจารณา 

       วิวัฒนาการของการบริหารกฎหมายของกระทรวงแรงงาน ที่สำคัญๆ

     - พ.ศ. 2541 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ตรา พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 เพื่อใช้แทนประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515

      - พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 19 สิงหาคม 2541 เป็นต้นมา

     - พ.ศ. 2553 กระทรวงแรงงานตรา พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553 โดยยกเลิกหมวด 8 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มาตรา 100 ถึง 107 ยกมาเป็น พรบ.ใน พ.ศ. 2554

     - พ.ศ. 2555 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย

     - พ.ศ. 2556 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย          

 

     พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ไม่บังคับ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น กิจการอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่กำหนดกฎกระทรวง แต่ราชการต้องจัดให้มีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ ในหน่วยงาน ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ ตาม พรบ.นี้     

 

     สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

     - ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง

     - บุคคลที่ประสงค์จะให้บริการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง จัดฝึกอบรม ให้คำปรึกษา เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ ตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 จะต้องขึ้นทะเบียนต่อสำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

     - นิติบุคคลที่ประสงค์จะให้บริการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง จัดฝึกอบรม ให้คำปรึกษา เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ ตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 จะต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี

     - ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย  และจะต้องขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

     - ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงาน กรณีที่ให้ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย และแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน

     - ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรม ความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ

     - ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

     - ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ที่ได้มาตรฐาน

     - ให้นายจ้างจัดให้มีการประเมินอันตราย 

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่

  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีไอออน พ.ศ. 2547
  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547
  • กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพลูกจ้างและส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547
  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ. 2548
  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549
  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551
  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552
  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 

กฎหมายที่ออกตาม พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มีดังนี้

  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555
  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556
  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
  • ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554
  • ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบแจ้งการเกิดอุบัติภัยร้ายแรงหรือประสบอันตราย พ.ศ. 2554
  • ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง สัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง พ.ศ. 2554
  • ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน               

นอกจากนี้แล้วยังมีกฎกระทรวงซึ่งออกตามความใน พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่มีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานอีกหลายฉบับ ดังนี้

  • กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541): งานทุกประเภทมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง
  • กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2541): ห้ามมิให้จ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงาน
  • กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541): ห้ามปฏิบัติหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะทำงานล่วงเวลา
  • กฎกระทรวง กำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ พ.ศ. 2547: ป้องกันมิให้ยกน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนดจนเกิดอันตรายต่อสุขภาพ                 

     การนำกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานไปสู่การปฏิบัติควรคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมาย และปฏิบัติสอดคล้องกับหลักทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้าง การยึดหลักนิติศาสตร์โดยไม่นำหลักการวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมมาประกอบการพิจารณา อาจทำให้เกิดความเสี่ยงภัยมากขึ้น 

 

หมวดวิชาที่ 3     การค้นหาอันตรายจากการทำงาน              

     การตรวจสอบความปลอดภัย เป็นวิธีป้องกันอุบัติเหตุโดยการเข้าไปตรวจค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุจากสภาพการทำงาน และวิธีการทำงานที่ไม่ปลอดภัยแล้วหาวิธีป้องกันแก้ไข โดยใช้หลักการ รู้อันตราย ประเมินได้ และความคุมเป็น การตรวจการกระทำที่ไม่ปลอดภัย คือ ความประมาท ขั้นตอนการทำงานไม่เหมาะสม ลัดขั้นตอน ความเมื่อยล้าของร่างกาย และความไม่คุ้นเคยในการปฏิบัติงานของพนักงานใหม่ และการตรวจสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ ระดับของแสงสว่าง เสียง สารเคมี วัตถุไวไฟ ความไม่ปลอดภัยจากเครื่องชั่งไฟฟ้า โครงสร้างอาคาร และสภาพพื้นที่              

     การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis: JSA) เป็นเทคนิคที่ใช้ค้นหาอันตรายหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนของงานที่ทำอันเป็นการกระทำพื้นฐานที่จะป้องกันอุบัติเหตุมิให้เกิดขึ้น และสิ่งที่ได้จาก JSA จะนำไปทำเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยขึ้น              

     การสอบสวนอุบัติเหตุจะสมบูรณ์ต่อเมื่อมีการทำรายงานอุบัติเหตุและเสนอแนะแนวทางแก้ไขป้องกัน เพื่อมิให้เกิดซ้ำแล้วเท่านั้น 

 

หมวดวิชาที่ 4     การป้องกันและควบคุมอันตราย

-   การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

-   การป้องกันและระงับอัคคีภัย

-   การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า

-   การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี

-   การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารรังสี

-   การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารชีวภาพ 

-   การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์

-   การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง

-   การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

     หลักการป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทำงาน ใช้หลัก 3E คือ Engineering: การใช้หลักวิศวกรรมมาป้องกันอันตราย โดยปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น Education: การให้ความรู้กับพนักงานเกี่ยวกับความปลอดภัยผ่านการฝึกอบรม Enforcement: การบังคับให้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ หรือ มาตรฐานการทำงาน

 

 

อ้างอิง: จากการเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน ครั้งที่ 1 ในระหว่างวันที่ 14-15 ธันวาคม 2560 ณ ห้องประชุมฝ้ายคำ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันที่เขียน 26/12/2560 0:02:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 2:23:38
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290