ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 1173
ชื่อสมาชิก : ลลิดา ภู่ทอง
เพศ : หญิง
อีเมล์ : lalida@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 19/10/2555 15:21:13
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 19/10/2555 15:21:13
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  0  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
Dynamic Meditation : ทำงานอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
Dynamic Meditation : ทำงานอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

การอบรมเรื่อง Dynamic Meditation ”

 

โดย พระพุทธยานันทภิกขุ

วันที่ 5-9 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 4.30-21.00 น.

ณ สวนพันดาว อ. สันทราย จ. เชียงใหม่

การอบรมครั้งนี้เริ่มจาก องค์กรเอกชนเพื่อสาธารณประโยชน์หรือ NGO=Non Govermental Oganizations ต้องการริเริ่ม Workshop เพื่อนำร่องการทำงานพัฒนาความสุขมวลรวมประชาชาติวิถีพุทธร่วมกันระหว่าง กลุ่ม NGO จากประเทศแคนาดา อังกฤษ ภูฏาน และไทย ณ สวนพันดาว เชียงใหม่ โดยจัดให้มีการฝึกสติหรือเจริญสติแบบเคลื่อนไหว (Dynamic Meditation)ระหว่างวันที่ 5-9 กุมภาพันธ์ 2560

ในการอบรมครั้งนี้พระพุทธยานันทภิกขุ ได้เริ่มการอบรมโดยให้มีการแนะนำตัวเอง เล่าถึงที่มาของการอบรมและให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการทำงานของแต่ละคนจากหลายๆประเทศ และท่านได้สอนวิธีการฝึกหรือเจริญสติแบบเคลื่อนไหว(Dynamic Meditation) ซึ่งเป็นแนวการเจริญสติของหลวงพ่อเทียน

ถ้าพูดในฐานะชาวต่างชาติก็อาจถามว่า ทำไมต้องมีการฝึกหรือเจริญสติ ถ้าพูดแบบชาวพุทธ ก็คือ ทำไมต้องมีการปฏิบัติธรรม  จากการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันเกี่ยวกับการทำงาน พบว่า เวลาทำงานและเกิดปัญหาต่างๆขึ้นมา สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เราต้องรักษาใจของเราให้มั่นคงไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคทั้งปวง เพราะเวลาเกิดปัญหาหรืออุปสรรค หากเราหวั่นไหวจะเกิดการท้อถอย เครียดซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ และส่งผลต่อการทำงานอย่างเห็นได้ชัด

ผู้ที่ไม่มีความมั่นคงทางจิตใจก็เกิดการท้อถอยและล้มเหลวในหารทำงานหรือทำงานได้ไม่ดีพอ แต่ผู้ที่มี มีความมุ่งมั่นไม่ท้อถอยก็อาจประสบผลสำเร็จมากกว่า อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความมุ่งมั่นแต่พบว่ายังมีความหวั่นไหวทางจิตใจ เกิดอาการเครียดตามมา ก็ต้องหาทางออก และพบว่า การเจริญสติหรือการปฏิบัติธรรมเป็นหนทางที่ช่วยเขาได้ เนื่องจากหากตัวเรามีความสงบ ร่มเย็นและมั่นคงในจิตใจ ก็ย่อมส่งผลให้สามารถจัดการกับเหตุการณ์ทุกอย่างที่เข้ามาได้

 

โดยสรุป การทำงานใดๆก็ตาม ถ้าจะให้ประสบผลสำเร็จแล้วควรต้องเริ่มจากตนเอง

คำถามต่อมา คือ ทำไมต้องมีการฝึกสติหรือเจริญสติแบบเคลื่อนไหว (Dynamic Meditation) พระพุทธยานันทภิกขุ ได้อธิบายให้ฟังว่า เนื่องจากการเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติของทุกคนอยู่แล้ว ดังนั้นการเจริญสติแบบนี้ จึงเหมาะกับผู้คนในโลกปัจจุบันที่ต้องมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ท่านได้ยกตัวอย่างประสบการณ์ของท่านที่เคยเจริญสติแบบอื่นมาและเจอปัญหาอุปสรรคต่างๆ การเจริญสติแบบนี้ทำให้ท่านหลุดพ้นจากปัญหาได้ อีกทั้งท่านเคยทำงานในแบบขององค์กรเอกชนเพื่อสาธารณประโยชน์หรือ NGO มาก่อน

ทำให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างตรงประเด็นมากขึ้น 

 

การเจริญสติ ทำให้จิตใจของเราอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น ไม่ไหลไปกับความคิดและเกิดอาการปรุงแต่ง เกิดความสงบ เย็นใจไม่รุ่มร้อน ทำให้มองทุกอย่างตามความเป็นจริง ทำให้เผชิญอุปสรรคและปัญหาได้และผ่านพ้นไปได้ หรือถ้ามีปัญหาที่แก้ไม่ได้ ก็จะยอมรับและหาทางออกอย่างอื่นได้. อย่างไรก็ตามการที่จะได้ผลมากหรือน้อยดังกล่าว ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้เจริญสติ ว่ามีความมุ่งมั่น ขยันและตั้งใจทำมากน้อยเพียงใด และต้องใช้เวลาในการฝึกฝน รวมทั้งต้องมีความตั้งใจที่จะฝึกต่อเนื่องด้วยตนเองต่อไป

ระหว่างการอบรม ผู้เข้าอบรมได้ฝึกเจริญสติทั้งในรูปแบบ 14 ท่า และการเดิน ทั้งในรูปการเจริญสติแบบเดี่ยวและรวมกลุ่ม ในวันสุดท้าย คุณชินวร จาริน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธยา นันทภิกขุจาก Mindfulfarmer.org นำผู้เจริญสติจากนานาชาติมาร่วมเติมเต็มอีก 10 ท่าน

          ผู้เขียนได้เข้าร่วมและเห็นประโยชน์ของการเจริญสติแบบนี้ ซึ่งต้องมีการนำมาฝึกต่อด้วยตนเอง เช่นเดียวกับการเรียนรู้อื่นๆ เช่น การเรียนภาษาอังกฤษ เราได้รับการอบรมมาพออ่านหรือพูดได้ แต่หากไม่นำมาฝึกต่อด้วยตนเองทุกวัน เราก็อาจลืมหรือไม่มีความก้าวหน้าในการพูดภาษาอังกฤษเลย

 

 

   
   

 

คำสำคัญ : meditation การทำงาน เจริญสติ ปฏิบัติธรรม ประสบความสำเร็จ-ฝึกสติ
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 6113  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 10/3/2560 13:54:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 8:31:24
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290