สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ประจำปี 2558
วันที่เขียน 14/3/2559 11:22:25     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2568 4:29:51
เปิดอ่าน: 3090 ครั้ง

การประชุมวิชาการ ประจำปี 2558 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นงานประชุมเพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจ เข้าร่วมนำเสนอผลงานทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์ ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้เข้ารับฟังบรรยายในหัวข้อวิจัยต่าง ๆ ทางด้านเกษตร ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ที่ทันสมัยเปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างมากขึ้น สามารถนำเอาองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้ต่อยอดและปรับปรุงงานวิจัยของตนเองได้ในอนาคต ามารถสร้างเครือข่ายงานวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่นักวิจัยและงานวิจัยทางด้านต่าง ๆ ของประเทศไทยให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

การประชุมวิชาการ ประจำปี 2558 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นงานประชุมเพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจ เข้าร่วมนำเสนอผลงานทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์ ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้เข้ารับฟังบรรยายในหัวข้อวิจัยต่าง ๆ ได้แก่ สาขาเกษตรศาสตร์ (ทางด้านพืชศาสตร์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สัตวศาสตร์ ประมงและทรัพยากรทางน้ำ) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมและอุตสาหกรรมการอาหาร สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ นอกจากนี้ได้มีการ เสวนาวิชาการ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ: วิกฤตหรือโอกาสเกษตรไทย (Climate Change: Crisis or Chance of Thai—Agriculture) โดยวิทยากรผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ซึ่งในการเสวนานี้ได้มีการวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์โดยเฉพาะในภาคเกษตร วิวัฒนาการและการร่วมมือขององค์กรต่าง ๆ ในการรับมือกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การกำหนดกฎเกณฑ์และสร้างความรับผิดชอบร่วมกันในการป้องกันและดูแลกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อย่างไรก็ตามสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ไม่ได้ส่งผลร้ายเสมอไป อาจมีผลดีต่อการเพาะปลูกพืชบางชนิดได้ ซึ่งในอนาคตประเทศไทยจะต้องมีการศึกษาและวิจัย ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้อาจต้องเริ่มหารือเพื่อกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการเพาะปลูกพืชที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ต่อไป เพื่อลดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะพืชใช้น้ำน้อยและการทำเกษตรแบบผสมผสาน เป็นต้น  

  ในการเผยแพร่ผลงานวิจัยภาคบรรยายและโปสเตอร์ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้ผู้นำเสนองานวิจัยถ่ายทอดข้อมูลแก่ผู้ร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานวิจัยซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ที่ทันสมัยเปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างมากขึ้น สามารถนำเอาองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้ต่อยอดและปรับปรุงงานวิจัยของตนเองได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังสามารถสร้างเครือข่ายงานวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่นักวิจัยและงานวิจัยทางด้านต่าง ๆ ของประเทศไทยให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://e-manage.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=479
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ (CSTI-ครั้งที่ 6)
ประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ โดยในปีนี้ ภายใต้หัวข้อ "วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อเกษตรสุขภาวะที่ยั่งยืน" ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีบรรยายพิเศษ จ...
Conference  CSTI  Statistics  ประชุมวิชาการ  ระดับชาติ  วิจัย  วิชาการ  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/4/2568 14:31:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2568 15:37:04   เปิดอ่าน 71  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง