ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 1173
ชื่อสมาชิก : ลลิดา ภู่ทอง
เพศ : หญิง
อีเมล์ : lalida@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 19/10/2555 15:21:13
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 19/10/2555 15:21:13
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  0  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง " สัมผัสแห่งการตื่นรู้: ภาวนาแบบโลกย์ๆ"
การภาวนา"สัมผัสแห่งการตื่นรู้: ภาวนาแบบโลกย์ๆ" จัดโดย Zhou Ru Jun และ วิจักขณ์ พานิช วันที่ 11-18 พฤศจิกายน 2558 ณ สวนโมกข์นานาชาติ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นการภาวนาในอีกมิติหนึ่งของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสายธรรมจากวัชราจารย์ ท่านเชอเกียม ตรุงปะที่เน้นการสร้างพื้นที่ว่างให้กับทุกสภาวะจิต และผ่อนคลายร่างกายด้วยเทคนิคการนอน-การนั่งสมาธิภาวนาที่หลากหลาย

   การภาวนาในหัวข้อ"สัมผัสแห่งการตื่นรู้: ภาวนาแบบโลกย์ๆ"เป็นการภาวนาในอีกมิติหนึ่งของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสายธรรมจากวัชราจารย์ ท่านเชอเกียม ตรุงปะที่เน้นการสร้างพื้นที่ว่างให้กับทุกสภาวะจิต และผ่อนคลายร่างกายด้วยเทคนิคการนอน-การนั่งสมาธิภาวนาที่หลากหลาย เช่น 10 Points Practice, Earth Breathing, Relaxing Into the Practice,  Earth reathing, และ Transitioning Into a Relaxed Sitting Posture เพื่อสัมผัสพลังแห่งการตื่นรู้ในกาย และนำไปสู่การรู้จักตนเอง เข้าใจตนเองได้ดีขึ้น รวมทั้งนำไปสู่การรู้และเข้าใจผู้อื่นได้ดีมากขึ้น

                    การฝึกภาวนาในรูปแบบนี้เป็นการฝึกให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย โดยการใช้ลมหายใจเป็นตัวนำ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของคนส่วนใหญ่ที่มีปัจจัยต่างๆทำให้ร่างกายเกิดอาการตึงเครียดโดยไม่รู้ตัว และนำไปสู่ความเครียดที่เกิดขึ้นในจิตใจ เช่น อารมณ์หงุดหงิด เครียด  ฉุนเฉียวไม่สามารถรับฟังคนอื่นได้ แม้ไม่แสดงออกให้เห็นทางหน้าตาก็ตาม ซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา

                    ตัวอย่างเทคนิคการภาวนาแบบ  12 Flow Belly Breathing  คือ ให้นั่งบนเก้าอี้หรือนั่งขัดสมาธิให้หลังตรง เอามือซ้ายวางที่ท้องน้อยและมือขวาทับมือซ้าย หายใจเข้าช้าๆ โดยให้ลมหายใจไปแตะจุดตันเถียนที่อยู่ตรงจุดกึ่งกลางระหว่างสะดือกับจุดดิน (จุดของร่างกายใกล้กับรูทวานหนักที่สัมผัสดิน)และจุดกึ่งกลางระหว่างด้านหน้าท้องน้อยกับด้านหลัง และหายใจออกช้าๆ และนานขึ้นในครั้งต่อๆไป โดยทำเช่นนี้ 12 ครั้ง เมื่อทำครบสิบสองครั้งแล้วให้หายใจปกติ ส่วนใหญ่จะพบว่าร่างกายผ่อนคลายมากขึ้นและหากทำเป็นประจำจะทำให้เรารู้สึกถึงส่วนต่างๆของร่างกายมากขึ้น มีสมาธิหรือความสงบมากขึ้น 

                    ในการภาวนาครั้งนี้มีการภาวนาในท่านั่ง นอนและเดินสลับกันไป ประมาณท่าละ 45 นาทีและฝึกช่วงละประมาณ 3 ชั่วโมง ตั้งแต่ ตี 5 จนถึงประมาณ 3 ทุ่ม มีช่วงพักอาหารเช้า อาหารกลางวัน และเย็น ในบางช่วงจะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งแต่ละคนจะแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับหรือมีการซักถามหากมีข้อคำถามที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติ

                    ประสบการณ์ที่ได้จากการภาวนาของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่โดยสรุปแล้วผู้เขียนพบว่า ผู้ภาวนาจะเข้าใจตนเองมากขึ้นในด้านของอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ที่สะท้อนออกมาทางกายหรือกริยาท่าทางตลอดจนถึงการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนและสิ่งต่างๆรอบตัว เราสามารถนำการภาวนานี้มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน ทำให้มุมมองในการดำเนินชีวิตและการทำงานเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น การภาวนานั้นคงจะเหมือนการอบรมหรือการเรียนภาษาอังกฤษ ที่จะต้องมีการหมั่นฝึกฝนปฏิบัติเพื่อที่จะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

คำสำคัญ : ภาวนา
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5204  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 4/3/2559 17:04:11  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 2:28:52
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290