รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี ๒๕๕๘
วันที่เขียน 26/2/2559 13:22:58     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2568 13:27:52
เปิดอ่าน: 1969 ครั้ง

รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี ๒๕๕๘ วันที่ ๘-๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี ๒๕๕๘

วันที่ ๘-๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 

ข้าพเจ้า นางปิยะนุช เนียมทรัพย์ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี ๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๘-๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ตามหนังสือขออนุญาตเดินทางไปราชการ เลขที่ ศธ.๐๕๒๓.๔.๔/๕๑๓ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ซึ่งการเข้าร่วมประชุมวิชาการดังกล่าวข้าพเจ้าได้เลือกใช้งบประมาณการพัฒนาบุคลากรตามกรณีที่ ๒  ดังนั้นจึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของ ประชุมวิชาการ ดังต่อไปนี้

๑. การพัฒนาเกี่ยวกับงานวิจัย

          ได้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาทางวิชาการจากนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับชาติ อาทิเช่น รองศาสตราจารย์สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ ดร.อดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และ ศาสตราจารย์ ดร.เกษม จันทร์แก้ว ผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย ที่ได้มาเสวนาในหัวข้อเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ: วิกฤตหรือโอกาสเกษตรไทย ซึ่งทำให้ได้รับฟังความรู้ ความคิดเห็นทางวิชาการที่จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเกี่ยวกับงานวิจัยต่อไปได้

          ได้เข้าร่วมรับฟังและทำหน้าที่เป็นเลขานุการของการนำเสนอผลงานทางวิชาการภาคบรรยายแบบปากเปล่า ในกลุ่มผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งทำให้ได้เห็นความก้าวหน้าของงานวิจัยในแขนงต่างๆ และสามารถนำมาปรับใช้กับงานวิจัยของตนเองได้

๒. การพัฒนาการเรียนการสอน

    สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้มาพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ของจุลชีววิทยาได้หลายวิชาให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น เช่น

    - วิชาในระดับปริญญาตรี ได้แก่ วิชา ชว ๓๓๐ วิชาจุลชีววิทยา ชว ๓๕๐ วิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

และ ชว ๔๓๓ วิชาวิชาการจำแนกแบคทีเรีย

- วิชาในระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่ วิชา ทช ๕๓๐ วิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านจุลินทรีย์ ทช ๕๓๑ วิชาการจำแนกจุลินทรีย์ ทช ๕๓๓ วิชาความหลากหลายของจุลินทรีย์  และ ทช ๗๓๐ อนุกรมวิธานของจุลินทรีย์ขั้นสูง

รวมทั้งนำมาพัฒนางานปัญหาพิเศษ งานวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ ให้มีความทันสมัยและทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นๆ รวมถึงมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://e-manage.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=455
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ (CSTI-ครั้งที่ 6)
ประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ โดยในปีนี้ ภายใต้หัวข้อ "วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อเกษตรสุขภาวะที่ยั่งยืน" ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีบรรยายพิเศษ จ...
Conference  CSTI  Statistics  ประชุมวิชาการ  ระดับชาติ  วิจัย  วิชาการ  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/4/2568 14:31:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2568 12:50:15   เปิดอ่าน 76  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง