การแยกหรือสกัดสารธรรมชาติด้วย Preparative Liquid Chromatography
วันที่เขียน 28/11/2567 9:06:07     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/4/2568 18:10:58
เปิดอ่าน: 145 ครั้ง

-

การแยกหรือสกัดสารธรรมชาติด้วย Preparative Liquid Chromatography

           การแยกสาร หรือการสกัดสารจากผักหรือผลไม้ เพื่อนำมาผลิตภัณฑ์จากสารธรรมชาติ โดยทั่วไปการสกัดสารจะใช้คอลัมน์แก้วที่มีขนาดใหญ่ใส่สารพวกซิลิกา หรืออะลูมินาเป็นตัวดูดซับ  เรียกเทคนิคนี้ว่า โครมาโทกราฟฟี ซึ่งตองประกอบด้วยเฟส 2 ชนิด คือเฟสคงที่และเฟสเคื่อนที่ และเก็บสารที่แยกออกมาในแต่ละโซน (https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=KGTZ3XBEfyc)

 

 แต่ผลเสียจากการแยกแบบนี้คือ ใช้เวลานาน การแยกไม่สารไม่ค่อยดี การไหลช้าตามแรงโน้มถ่วง ไม่สามารถใช้สารละลายตัวพาคือ เฟสเคลื่อนที่ได้หลากหลาย ในปัจจุบันการแยกสารทางโครมาโทกราฟีได้มีการพัฒนาเพื่อให้แยกได้รวดเร็ว การแยกดีมากขึ้น และสามารถแยกตัวอย่างที่เป็นของแข็งได้อีกด้วย คือโครมาโท-  กราฟีแบบแฟลชกับแบบเตรียม HPLC โดยทั่วไปเราจะรู้จักเครื่อง HPLC สำหรับวิเคราะห์เชิงปริมาณมากกว่าเครื่องที่แยกเก็บสารแต่ละส่วน ที่เรียกว่า เครื่องเก็บตัวอย่างแยกส่วนแบบอัตโนมัติของ LC (Preparative Open-Bed Sampler/Collector)

โครมาโทกราฟีแบบแฟลชมักใช้เป็นขั้นตอนก่อนการทำให้บริสุทธิ์ ก่อน เช่นผ่านการสกัดด้วยเฟสของแข็งที่เรียกว่า Solid Phase Extraction (SPE) แล้วนำสารที่ได้ไปวิเคราะห์ ตัว SPE และเครื่องที่ใช้ในการแยกแบบสุญญากาศ  ส่วน Prep HPLC ใช้เพื่อให้ได้สารแยกออกมาให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้น  (https://www.indiamart.com/proddetail/agilent-1260-infinity-ii-preparative-liquid-chromatography-system-23885490788.html?mTd=1)

 พารามิเตอร์ของโครมาโทกราฟีแบบแฟลชเทียบกับการเตรียม HPLC ในตารางด้านล่าง:

(https://www.barts-blog.net/flash-chromatography-vs-prep-hplc-you-want-speed-or-precision/)

 ข้อดีของเครื่อง Prep HPLC คือ กระบวนการรวดเร็ว มีความละเอียดสูง อัตราการไหลสูง สามารถใช้สารละลายตัวพร้อมกันได้หลายชนิด เป็นระบบอัตโนมัติ สามารถแยกสารซ้ำได้หลายรอบ ไม่ต้องใช้ตู้ดูดควัน ข้อเสียคือ ค่าดูแลบำรุงรักษาเครื่อง และวัสดุสิ้นเปลื้อง ต้องมีความชำนาญในการใช้เครื่องมือ  ดังนั้นการแยกสารในปัจจุบันที่ใช้เครื่องอัตโนมัติก็จะช่วยประหยัดเวลามากขึ้น และได้สารที่มีความบริสุทธิ์มากขึ้นด้วย

 

คำสำคัญ :
็HPLC  
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://e-manage.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1527
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ (CSTI-ครั้งที่ 6)
ประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ โดยในปีนี้ ภายใต้หัวข้อ "วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อเกษตรสุขภาวะที่ยั่งยืน" ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีบรรยายพิเศษ จ...
Conference  CSTI  Statistics  ประชุมวิชาการ  ระดับชาติ  วิจัย  วิชาการ  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/4/2568 14:31:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/4/2568 8:09:06   เปิดอ่าน 39  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง