การจัดการมลพิษของเสียห้องปฏิบัติการ
วันที่เขียน 30/8/2567 15:33:58     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/4/2568 16:37:38
เปิดอ่าน: 224 ครั้ง

การจัดการมลพิษของเสียห้องปฏิบัติการ

1.มีมาตรการการจัดการขยะของเสียอย่างเหมาะสม

 1.1ลดปริมาณขยะ (reduce)

 1.2ใช้ซ้ำ (reuse)

 1.3นำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)

2.มีมาตรการการจัดการน้ำเสีย

  2.1  ไม่ทิ้งสารที่อันตรายลงในอ่างล้างควรมีภาชนะแยกจัดเก็บเพื่อนำไปกำจัดทิ้งให้ถูกต้องตามขบวนการเพื่อลดปริมาณสารพิษที่จะไหลกลับลงสู่ธรรมชาติเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม

  2.2 เลือกใช้น้ำยาหรือสารทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  2.3 มีการบำบัดน้ำทิ้งก่อนทิ้งอย่างเหมาะสม

  1. มีการจัดการมลพิษทางอากาศอย่างเหมาะสม

  3.1 มีการจัดการกลิ่นจากสารเคมีโดยการใช้ตู้ดูดควันเพื่อป้องกันมลพิษกระจาย

  3.2มีการจัดเก็บสารในตู้เก็บสารที่มีระบบดูดควันพิษเพื่อให้อากาศในห้องปฏิบัติการมีสภาพอากาศที่ดีเหมาะสมสำหรับการทำงาน

   3.3 มีการจัดการสภาพอากาศที่ดีทำให้อากาศถ่ายเทสะดวก

  1. มีการจัดการดำเนินกิจกรรม 5 ส อย่างสม่ำเสมอเพื่อจัดการพื้นที่ในห้องปฏิบัติการให้สะอาดเป็นระเบียบทำงานได้สะดวกปลอดภัยป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดจากการทำงานและทำให้ห้องทำงานเป็นระเบียบเรียบร้อย
  2. มีมาตรการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน

 5.1มีการจัดการในการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน เช่นกรณีที่เกิดอุบัติเหตุสารเคมีหกต้องมีชุดอุปกรณ์เบื้องต้นเตรียมไว้เพิ่อจัดการไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและต่อผู้ปฏิบัติงาน

 5.2มีการตรวจสอบและเช็คระบบความปลอดภัยของอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉิน

 

 

การจัดการมลพิษของเสียที่ดีและเหมาะสมจะทำให้ตัวเราและองค์กรปลอดภัยจากมลพิษที่เกิดขึ้นทำให้สุขภาพร่างกายปราศจากโรคภัยที่เกิดจากการทำงานช่วยให้สภาพแวดล้อมในการทำงานปลอดภัยและช่วยประหยัดงบประมาณให้องค์กรในการจัดการงบประมาณค่าใช้จ่ายและสิ่งที่สำคัญคือความตระหนักรู้ถึงการจัดการขยะและมลพิษที่ถูกต้องช่วยให้สภาพแวดล้อมปลอดภัยและช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้เบื้องต้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://e-manage.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1491
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
พัฒนาตนเอง -นงคราญ » AI ในการทบทวนวรรณกรรมสำหรับการวิจัย
การใช้ AI ในการทบทวนวรรณกรรมสำหรับการวิจัยสามารถช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ อย่างไรก็ตาม ควรใช้ AI อย่างระมัดระวังและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอยู่เสมอ
AI  AI สำหรับทบทวนวรรณกรรม  Connected Papers  Perplexity  ResearchRabbit  SciSpace  อบรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 26/2/2568 18:03:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/4/2568 14:19:28   เปิดอ่าน 508  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง