โครงการอบรมการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ ระดับหลักสูตร รายวิชา ระดับชั้นปี (PLO, CLO, YLO) และการวัดประเมินผลแบบ Rubric
วันที่เขียน 26/8/2567 23:03:47     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/4/2568 9:46:35
เปิดอ่าน: 290 ครั้ง

โครงการอบรมการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ ระดับหลักสูตร รายวิชา ระดับชั้นปี (PLO, CLO, YLO) และการวัดประเมินผลแบบ Rubric ในวันที่ ๒๕-๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ Wintree City Resort Chiang Mai จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดยสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว ดังต่อไปนี้

  1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
  • ได้รับฟังการบรรยาย เรื่อง “การกําหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร รายวิชา ระดับชั้นปี และ การวัดประเมินผลแบบ Rubric” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์, SFHEA ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐพล ประดับเวทย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพาดา ไตรรัตน์, FHEA อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทำให้ทราบว่าการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ Outcome-Based Education (OBE) จะต้องทำให้นักศึกษาทุกคนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ เรียนแล้วนำไปใช้ได้ทันทีเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน การจัดทำหลักสูตรใหม่/หลักสูตรปรับปรุง จะใช้ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2565 บัณฑิตจะต้องมีความรู้ ทักษะ จริยธรรม และคุณลักษณะของหลักสูตร อีกทั้งนำไปประกอบอาชีพได้ หลักสูตรตอบโจทย์ของประเทศ หลักสูตรควรนำผลการปรับปรุงมาอธิบาย วิเคราะห์ แสดงให้เห็นชัดเจน เช่น ภาคผนวก รวมถึงตอบตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา
  • การได้มาซึ่ง PLO ให้หลักสูตรศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน นโยบายของประเทศ มคอ. 1 เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา (AUN-QA ฯลฯ) ผลการดำเนินงานของหลักสูตร (กรณีหลักสูตรปรับปรุง) ความต้องการของอาชีพ ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (นายจ้าง ผู้ใช้บัณฑิต/ศิษย์เก่า บัณฑิต/นิสิต นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน/แหล่งฝึก (ถ้ามี)) พันธกิจ วิสัยทัศน์ สถาบัน/คณะ และผู้เข้าอบรมได้ฝึกหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลตลาดงาน/อาชีพ เช่น JobsDB Linkedin Jobthai เป็นต้น เพื่อนำไปสร้าง PLO เช่น สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ เขียนโปรแกรมได้
  • ตัวอย่างการเขียนผลลัพธ์การเรียนรู้ (PLO) วิทยากรได้ชี้ประเด็นสำคัญของการเขียนผลลัพธ์การเรียนรู้ คือ เป็นสิ่งที่เห็นได้ สามารถวัดได้ ผู้เรียนสามารถทำออกมาได้ พร้อมทั้งวิทยากรได้ให้สูตรและตัวอย่างการเขียนผลลัพธ์การเรียนรู้ (PLO)
  • การทำ YLO วิทยากรได้แนะนำว่าให้วิเคราะห์ PLO ไปสู่ YLO ว่าในแต่ละชั้นปี ผู้เรียนควรบรรลุความรู้ ทักษะอะไร โดยวิชาอะไรบ้าง และออกแบบ CLO ของรายวิชาให้เหมาะสม
  • การออบแบบการประเมินแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์/การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ วิทยากรได้แนะนำว่าผู้สอนควรทำการประเมิน (Assessment) ระหว่างเทอม หรือประเมินเป็นระยะ ๆ เพื่อพัฒนาผู้เรียน การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ทั้งแบบ Active Learning และ Life-long Learning นอกจากนี้ในการออกแบบ Rubric มีทั้งแบบ Scoring Rubric และ Holistic Rubric

 

  1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่                                                                                                                           -ทำให้ทราบแนวทางในการจัดทำ PLO, YLO, CLO ที่ชัดเจนมากขึ้น สำหรับหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2570                                                 -ทำให้ทราบแนวทางการวัดประเมินผลแบบ Rubric

 

  1. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)                                                                                                                    - ทำให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบหลักสูตรแบบย้อนกลับ (Backward Curriculum Design)                                          - ทำให้บุคลากรสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวัดการประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ (CSTI-ครั้งที่ 6)
ประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ โดยในปีนี้ ภายใต้หัวข้อ "วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อเกษตรสุขภาวะที่ยั่งยืน" ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีบรรยายพิเศษ จ...
Conference  CSTI  Statistics  ประชุมวิชาการ  ระดับชาติ  วิจัย  วิชาการ  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/4/2568 14:31:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/4/2568 8:40:59   เปิดอ่าน 34  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง