โครงการอบรม "เขียนบทความวิชาการอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์ และการเลือกวารสารวิชาการให้เหมาะสมกับผลงาน"
วันที่เขียน 22/4/2566 23:40:30     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 14/4/2568 2:30:52
เปิดอ่าน: 1359 ครั้ง

โครงการอบรม "เขียนบทความวิชาการอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์และการเลือกวารสารวิชาการให้เหมาะสมกับผลงาน" โดย ศาสตราจารย์ ดร.อุทัยรัตน์ ณ นคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 16 ธันวาคม 2565 เวลา : 13:30 - 16:30 น. ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว ดังต่อไปนี้

  1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
  • ได้รับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เขียนบทความวิชาการอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์และการเลือกวารสารวิชาการให้เหมาะสมกับผลงาน” โดยศาสตราจารย์ ดร.อุทัยรัตน์ ณ นคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำให้ทราบว่าแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม เหตุผลที่ต้องตีพิมพ์งานวิจัยเพื่อป้องกันการทำซ้ำ ควรเลือกตีพิมพ์ในวารสารที่ตรงกับสายงาน มีเฉพาะเจาะจง มีเกณฑ์มาตรฐานรองรับ/เป็นที่ยอมรับในสายงาน จะตีพิมพ์ระดับชาติหรือนานาชาติ ควรพิจารณา Impact Factor และ Quartile เช่น อยู่ในฐาน Web of Science, Scopus เป็นต้น
  • งานวิจัยที่ดี ควรมีคำถามเชิงวิชาการที่ดี มีการทดลองที่ดี มีการวิเคราะห์ผล/การวิจารณ์ มีความรู้ใหม่/องค์ความรู้ใหม่ Information ใหม่ เช่น กรณีศึกษา : การคิดโจทย์วิจัยจากงานบริการวิชาการ การพัฒนาลายผ้าเพื่อเป็นเอกลักษณ์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านพรุ เป็นต้น
  • เริ่มทำวิจัย Review ให้มากที่สุด คำนำ ให้กล่าวที่มา แรงบันดาลใจ ความสำคัญกว้าง ๆ ความสำคัญงานของเรา ทบทวนวารสารที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของงานวิจัย ผลเป็นอย่างไร
  • สาเหตุที่ต้นฉบับถูกปฏิเสธ มาจากวิธีการไม่ถูกต้อง ล้าสมัย ขนาดการทดลองเล็กเกินไป ตัวอย่างน้อยเกินไป ให้รายละเอียดไม่เพียงพอ ไม่มีการทดสอบทางสถิติ การรายงานผล บกพร่องในการวิจารณ์
  • การวิจารณ์ผล ควรวิจารณ์ตามวัตถุประสงค์/สมมติฐาน ประเด็นที่เกี่ยวข้องก็นำมาวิจารณ์ ทฤษฎีที่นำมาใช้ต้องมีแหล่งอ้างอิง ทุกการอ้างอิงต้องถูกต้อง วิจารณ์อย่างมีทิศทาง นำไปสู่ข้อสรุป
  • เอกสารอ้างอิง ควรเขียนตามรูปแบบที่วารสารกำหนด ทันสมัย หลีกเลี่ยงเอกสารที่ไม่มีการตรวจสอบ
  • คำสำคัญ ควรใช้คำผสม 2-4 คำ ดีกว่าคำเดี่ยว ใช้คำที่ถ้าเราเป็นคนอ่าน อยากจะใช้คำใด
  • จริยธรรมการวิจัยที่ต้องคำนึงถึง คือ การลอกเลียน คัดลอกทั่วไป ทำซ้ำงานตนเอง แบ่งงาน/ส่งไปพร้อมกันมากกว่า 1 วารสาร
  • Practice make perfect

 

  1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
  • ทำให้ทราบแนวทางการทำวิจัยที่ดี การเขียนบทความวิชาการให้ได้ตีพิมพ์ การเลือกวารสารให้เหมาะสมกับผลงาน

 

  1. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
  • บุคลากรทราบแนวทางในการทำงานวิจัยที่ถูกต้อง ตามหลักวิชาการและจริยธรรมการวิจัย

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://e-manage.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1346
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ (CSTI-ครั้งที่ 6)
ประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ โดยในปีนี้ ภายใต้หัวข้อ "วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อเกษตรสุขภาวะที่ยั่งยืน" ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีบรรยายพิเศษ จ...
Conference  CSTI  Statistics  ประชุมวิชาการ  ระดับชาติ  วิจัย  วิชาการ  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/4/2568 14:31:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 14/4/2568 1:45:37   เปิดอ่าน 51  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง